สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา
Search
Close this search box.
Search
Close this search box.
Play Video

กัมมี่เยลลี่เสริมใบกิงโกะ (Gummy Ginkgo Jelly)

ชมผลงานอื่นๆ ได้ที่ >> นิทรรศการออนไลน์ “CDTI Virtual Exhibition 2020” คลิก <<
นิทรรศการสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม โดยครู อาจารย์ นักเรียนและนักศึกษา สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา

วัตถุประสงค์ / เป้าหมาย
1. เพื่อศึกษาสูตรมาตรฐานของกัมมี่เยลลี่
2. เพื่อศึกษาปริมาณของใบกิงโกะที่ใช้เสริมในกัมมี่เยลลี่เสริมใบกิงโกะ
3. เพื่อศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกัมมี่เยลลี่เสริมใบกิงโกะ
4. เพื่อศึกษาการยอมรับของผู้บริโภคที่มีต่อกัมมี่เยลลี่เสริมใบกิงโกะ

เนื้อหาโดยสรุป / วิธีการ / ข้อค้นพบ / ผลการศึกษา
          ในปัจจุบันมีผู้สูงอายุมากมายที่มีความเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์ เมื่อเซลล์สมองเสื่อมลงทำให้ประสิทธิภาพของสมองค่อย ๆ ลดลง (ศูนย์ประสาทวิทยาโรงพยาบาลบำรุงราษฎ์ร, 2561) สถาบันประสาทวิทยาเผยผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป เสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์ (สถาบันประสาทวิทยา, 2561) ซึ่งกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ในอนาคต จึงเป็นกลุ่มคนวัยทำงานที่มีอายุเฉลี่ยประมาณ 30-40 ปีขึ้นไป จากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันความเครียดในการทำงานที่เป็นข้อบ่งชี้ได้ว่ามีความเสี่ยงจะเกิดโรคอัลไซเมอร์ (กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณะสุข, 2561) และจากพฤติกรรมของคนทำงานออฟฟิตนั้น มักจะมีการรับประทานขนมขบเคี้ยวควบคู่กับการทำงานไปด้วย จากผลการสำรวจของวงใน ปี 2561 พบว่าขนมเยลลี่ได้รับความนิยมเป็นขนมขบเคี้ยวที่มนุษย์ทำงานออฟฟิตต้องมีติดอยู่บนโต๊ะเพราะมีรสหวานที่ช่วยให้อารมณ์ดีและมีรสเปรี้ยวทำให้เพิ่มความสดชื่นในการทำงาน
          ใบกิงโกะ (Ginkgo biloba L.) สมุนไพรชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศจีนได้มีการนำมาใช้เป็นยารักษาโรคยาวนานกว่า ในประเทศไทยเรารู้จักใบกิงโกะกันในชื่อใบแปะก๊วย ซึ่งแปะก๊วยเป็นหนึ่งในต้นไม้ที่เก่าแก่ที่สุดเป็นไม้ผลัดใบยืนต้นสูง 30-40 เมตร ใบออกจากปลายกิ่งสั้น ๆ รูปร่างคล้ายพัดจีน ออกดอกในฤดูใบไม้ผลิใบใช้เพื่อรักษาภาวะผิดปกติทางสมอง (โรคอัลไซเมอร์) มีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์และเข้ายับยั้งการเปลี่ยนแปลงในสมองที่อาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการจดจำและกระบวนการคัดทั้งใบและผลของแปะก๊วยมีสรรพคุณทางยา ใบจะมีรสขมและฝาด ซึ่งทำให้ยากต่อการรับประทาน (สำนักงานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2562)
          เยลลี่กัมมี่ (jelly gummy) คือ น้ำผลไม้หรือน้ำผลไม้เข้มข้นกับสารให้ความหวาน (Sweetening agent) ผสมกับสารที่ทำให้เกิดเจล (Gelling agent) นำมาให้ความร้อนเพื่อให้ส่วนผสมละลายแล้วทิ้งไว้ให้เย็นจะมีลักษณะเป็นเจล (Gel) โปร่งแสง (สำนักงานออุตสาหกรรม, 2521) เยลลี่ที่ดีต้องมีลักษณะใสและมีเนื้อสัมผัสอ่อนนุ่มแต่ไม่เหนียวจนหนืดและไม่เหลว ต้องแข็งพอที่จะคงรูปเดิมเมื่อตัด (กองวิทยาศาสตร์ชีวภาพ, 2531) 
          ดังนั้นผู้จัดทำจึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาเยลลี่กัมมี่เสริมใบกิงโกะ เพื่อลดความเสี่ยงในการการเกิดโรคอัลไซ-เมอร์ในอนาคตของคนวัยทำงานและเป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้ที่ชื่นชอบในการทานเยลลี่เป็นขนมขบเคี้ยวระหว่างการทำงาน

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์
1) เพื่อศึกษาสูตรมาตรฐานของกัมมี่เยลลี่
2) เพื่อศึกษาปริมาณของใบกิงโกะที่ใช้เสริมในกัมมี่เยลลี่เสริมใบกิงโกะ
3) เพื่อศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกัมมี่เยลลี่เสริมใบกิงโกะ
4) เพื่อศึกษาการยอมรับของผู้บริโภคที่มีต่อกัมมี่เยลลี่เสริมใบกิงโกะ
กลุ่มตัวอย่างคือ อาจารย์ เจ้าหน้าที่ ในโรงเรียนจิตรลดาวิชาชีพ สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบประเมิน 9 ระดับ (9 – Point Hedonic Scale) โดยใช้สถิติ (ANOVA)

ผลการศึกษาพบว่า
1) ผู้ทดสอบทางประสาทสัมผัสให้การยอมรับสูตรมาตรฐาน กัมมี่เยลลี่ สูตรที่ 1 มากที่สุด มีคะแนนในด้านสี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัสและความชอบโดยรวม 7.88 7.38 7.52 7.48และ 7.86 ตามลำดับ
2) ผลการศึกษาปริมาณของใบกิงโกะที่ใช้เสริมในกัมมี่เยลลี่เสริมใบกิงโกะ พบว่าผู้ทดสอบให้การยอมรับปริมาณใบกิงโกะ 5 % มากที่สุด
3) ผลศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกัมมี่เยลลี่เสริมใบกิงโกะ พบว่ากัมมี่เยลลี่เสริมใบกิงโกะมีคุณค่าทางโภชนาการดังนี้ พลังงาน 327.25 กิโลแคลอรี่ น้ำ 0.425 กรัม คาร์โบไฮเดรต 84.575 กรัม สารต้านอนุมูลอิสระ กลุ่มฟลาโวนอยด์และกลุ่มเทอร์พีนแลคโตน วิตามิน บี 1
,2 และ 12
4) ผู้บริโภคให้การยอมรับกัมมี่เยลลี่เสริมใบกิงโกะ พบว่าผู้บริโภคให้การยอมรับกัมมี่เยลลี่เสริมใบกิงโกะ 5% มากที่สุด

หน่วยงาน
โรงเรียนจิตรลดาวิชาชีพ

ผู้รับผิดชอบ
อาจารย์
อ.รัชนู ปินตาดง

นักเรียน/นักศึกษา
นายพิทยาพล เบ็ญจไชยรัตน์
นายปลุกเกษม สิกขะมณฑล
นางสาวสิตานัน ดาราวิชัย

เบอร์ติดต่อ
095-4860666

ระดับปริญญาตรี