สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI คืออะไร
สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication) หรือ GI คือ เครื่องหมาย ชื่อ หรือสัญลักษณ์ หรือสิ่งอื่นใดที่ใช้เรียกหรือใช้แทนแหล่งภูมิศาสตร์ และสามารถบ่งบอกว่าสินค้าที่เกิดจากแหล่งภูมิศาสตร์นั้น เป็นสินค้าที่มีคุณภาพ ชื่อเสียง หรือคุณลักษณะเฉพาะของแหล่งภูมิศาสตร์ หรือชื่อสัญลักษณ์ที่ใช้ประกอบกับสินค้าเพื่อแสดงให้ผู้ซื้อหรือผู้บริโภคได้ทราบถึงลักษณะสินค้าที่มาจากแหล่งกำเนิดนั้นๆ มีคุณภาพชื่อเสียง หรือคุณลักษณะพิเศษ GI จึงเปรียบเสมือนเป็นแบรนด์ของท้องถิ่นที่บ่งบอกถึงคุณภาพและแหล่งที่มาของสินค้า
ประเภทของสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI มีอะไรบ้าง
สินค้าที่สามารถขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ในประเทศไทยมี 3 ประเภท คือ สินค้าเกษตรกรรม สินค้าหัตถกรรม และสินค้าอุตสาหกรรม
ประโยชน์ที่จะได้รับเมื่อขึ้นทะเบียนสินค้าชุมชนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI
- คุ้มครอง ชื่อสินค้าให้เป็นสิทธิ์เฉพาะของชุมชนที่ขึ้นทะเบียน
- ส่งเสริม ยกระดับ อุตสาหกรรมท้องถิ่น หรือ SMEs
- เพิ่มมูลค่า ของสินค้า และเป็นเครื่องมือการตลาด
- ดูแลรักษา มาตรฐานของสินค้า และรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น
- สร้างความเข้มแข็ง ให้แก่ชุมชน เพิ่มความสามัคคีเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
- สนับสนุน การท่องเที่ยวชุมชนผู้ผลิตอย่างยั่งยื่น
- สร้างความเชื่อมั่น ในแหล่งที่มาและคุณภาพของตัวสินค้าให้กับผู้ซื้อขาย
- ก้าวสู่ระดับสากล ได้รับการสนับสนุนจดทะเบียนในต่างประเทศ
สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ที่ขอรับความคุ้มครองได้
- มีความสัมพันธ์ระหว่างสินค้ากับแหล่งผลิต เช่น วัฒนธรรมท้องถิ่น ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ที่ส่งผลต่อลักษณะพิเศษของสินค้า
- มีพื้นที่การผลิตที่ชัดเจนและใช้วัตถุดิบหลักจากในพื้นที่
- มีคุณภาพ หรือลักษณะเฉพาะของสินค้า ที่แตกต่างจากสินค้าชนิดเดียวกันที่ผลิตจากที่อื่น
- มีการกำหนดคุณภาพ และมีกระบวนการควบคุมตรวจสอบชัดเจน
- มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค
สินค้าที่ไม่สามารถขึ้นทะเบียน GI ได้
สินค้าที่ไม่สามารถขึ้นทะเบียน GI ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ.2546
มาตรา 5 : สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ขอขึ้นทะเบียนสำหรับสินค้าใดต้องไม่มีลักษณะอย่างใด ดังต่อไปนี้
- เป็นชื่อสามัญของสินค้าที่จะใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์นั้น
- เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือนโยบายภาครัฐ
การเตรียมการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
- การกำหนดสินค้าที่ต้องการคุ้มครอง รวบรวมข้อมูลและรวมกลุ่ม ผู้ประกอบการทั้งสายการผลิต เพื่อการศึกษาความเป็นไปได้ของการขอขึ้นทะเบียน
- จัดทำข้อกำหนดในการผลิตสินค้า ขอบเขตพื้นที่ในการผลิต ความเชื่อมโยง ของสินค้ากับแหล่งภูมิศาสตร์ และประวัติความเป็นมาของสินค้า
- จัดทำคำขอขึ้นทะเบียนตามกฎหมายยื่นต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา หรือ สำนักงานพาณิชย์จังหวัด เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองโดยสมบูรณ์ตามกฎหมาย
- จัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบ และกำหนดกลไกควบคุมการใช้สิ่งบ่งชี้ทาง ภูมิศาสตร์ตามที่ขอขึ้นทะเบียนไว้
ขั้นตอนการขึ้นทะเบียน
หารือ สำรวจ สืบค้น รวบรวมกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประประกอบการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ศึกษาความเป็นไปได้ และรวบรวมข้อมูลสินค้า
หน่วยงาน ผู้ผลิต ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องร่วมกัน
- จัดทำคำขอขึ้นทะเบียน รายละเอียดประกอบด้วย
– ชื่อเสียงของสินค้า
– คุณภาพ/ลักษณะพิเศษ/วิธีการผลิต
– ความเชื่อมโยงสินค้ากับแหล่งภูมิศาสตร์
– ขอบเขตพื้นที่ - คู่มือปฏิบัติการ สำหรับสมาชิกผู้ใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
- แผนการตรวจสอบควบคุม สำหรับคณะกรรมการควบคุมตรวจสอบคุณภาพสินค้า
คำขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา หรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัดในจังหวัดของแหล่งภูมิศาสตร์
กรมทรัพย์สินทางปัญญาตรวจสอบคำขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
หลักฐานที่ใช้ในการขอขึ้นทะเบียน
- คำขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (สช.01) พร้อมสำเนาจำนวน 1 ชุด
- สำเนาบัตรประจำตัว ประกอบคำขอ
– กรณีเป็นส่วนราชการ ให้ใช้ สำเนาบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือสำเนาคำสั่งแต่งตั้ง
– กรณีเป็นนิติบุคคล ให้ใช้ สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล
– กรณีเป็นบุคคลธรรมดาหรือกลุ่มบุคคล ให้ใช้ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน - ภาพถ่ายของสินค้าที่ใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ขอขึ้นทะเบียน
- ต้นฉบับ สำเนา หรือภาพถ่ายฉลากสินค้าที่ขอขึ้นทะเบียน
- สำเนาหนังสือมอบอำนาจ และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี)
- เอกสารอื่นๆ ได้แก่
6.1 เอกสารยืนยันความมีคุณภาพ ชื่อเสียง คุณสมบัติ หรือลักษณะเฉพาะของสินค้า (ถ้ามี)
6.2 เอกสารยืนยันถึงความเชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ หรือต้นกำเนิดทางภูมิศาสตร์ (ถ้ามี)
6.3 เอกสารยืนยันว่าสินค้ามีแหล่งกำเนิดมาจากพื้นที่แหล่งภูมิศาสตร์ (ถ้ามี)
ค่าธรรมเนียม
คำขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ฉบับละ 500 บาท
การใช้ตราสัญลักษณ์ GI ไทย ที่ถูกต้อง

ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย เป็นตราของกรมทรัพย์สินทางปัญญา ที่ออกให้แก่ผู้ผลิตสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ซึ่งอยู่ในแหล่งภูมิศาสตร์ดังกล่าว หรือผู้ประกอบการค้าเกี่ยวกับสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์นี้ เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคและมิให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในแหล่งภูมิศาสตร์ของสินค้าว่าเป็นสินค้าที่มาจากแหล่งภูมิศาสตร์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนไว้ โดยจะต้องมีการจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน และแผนการควบคุม ตรวจสอบ พร้อมทั้งปฏิบัติตามคู่มือและแผนการควบคุมนั้นแล้ว กรมทรัพย์สินทางปัญญา เป็นผู้ออกใบอนุญาตให้แก่ ผู้ผลิตสินค้า GI โดยใช้กับสินค้าที่ขึ้นทะเบียน ตราสัญลักษณ์ สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย หรือ ตรา GI มีอายุ 2 ปี
ผู้มีสิทธิ์ ได้รับอนุญาตใช้ตราสัญลักษณ์ สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ไทย
- เป็นผู้ผลิต หรือผู้ประกอบการ สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
- มีคู่มือปฏิบัติงานสำหรับสมาชิก
- มีแผนการควบคุมตรวจสอบในระดับผู้ผลิต หรือระดับจังหวัดแล้ว
- ปฏิบัติตามคู่มือ และแผนการควบคุมแล้ว