ลิขสิทธิ์ คือ สิทธิที่ให้ความคุ้มครองตามกฎหมายแก่ผู้สร้างสรรค์ ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีความใหม่ แต่จะต้องเป็นการสร้างสรรค์ด้วยตนเองโดยใช้สติปัญญา ความรู้ ความสามารถ ความวิริยอุตสาหะ ความพยายามในระดับหนึ่งเพื่อสร้างสรรค์งานให้เกิดขึ้น และเป็นสิ่งที่มีคุณค่าในทางเศรษฐกิจ ลิขสิทธิ์จัดเป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทที่กฎหมายให้ความคุ้มครองทันที ที่ได้มีการสร้างสรรค์งาน และเป็นสิทธิเด็ดขาดของเจ้าของงานอันมีลิขสิทธิ์ โดยจะเป็นผู้ที่มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใดๆ์
- เป็นงานที่แสดงออกถึงความคิด (expression of idea)
- เป็นงานที่ริเริ่มสร้างสรรค์ด้วยตนเอง (originality)
- การทุ่มเทกำลัง ความรู้ ความสามารถ ความตั้งใจวิริยะอุตสาหะในการสร้างสรรค์ (sweat & labour and judgment)
- มีลักษณะเข้าข่ายตามประเภทของงานที่กฎหมายลิขสิทธิ์รับรอง
- เป็นงานที่ไม่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมอันดี
ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ที่ยื่นแจ้งข้อมูลจะต้องเป็นงานที่ผู้สร้างสรรค์สร้างสรรค์ขึ้นเอง โดยไม่ได้ลอกเลียนบุคคลอื่น และเป็นงานประเภทต่างๆ ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ได้แก่
- วรรณกรรม หมายความถึง งานเขียนต่างๆ เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งพิมพ์ ปาฐกถา เทศนา สุนทรพจน์ คู่มือ แค็ตตาล็อกสินค้า หรือสิ่งอื่นใดที่เขียนหรือพิมพขึ้น รวมไปถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วย
- นาฏกรรม ได้แก่ งานเกี่ยวกับการรำ การเต้น การแสดงท่าทางประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว โดยรวมถึงการแสดงโดยวิธีใบด้วย
- ศิลปกรรม คืองานศิลปะสาขาต่างๆ ดังนี้
- งานจิตรกรรม ได้แก่ งานสรางสรรค์ที่ประกอบด้วย เส้น แสง สี อย่างใด อย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างอย่างรวมกัน ลงบนวัสดุอย่างเดียว หรือหลายอย่าง เช่น ภาพเขียน ภาพวาด
- งานประติมากรรม เช่น งานปนรูปทรงต่างๆ
- งานภาพพิมพ์ คือ งานสร้างสรรค์ภาพด้วยกรรมวิธีทางการพิมพ์
- งานสถาปัตยกรรม ได้แก่ งานออกแบบอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง งานออกแบบตกแต่งภายในการสร้างแบบจำลองของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง
- งานภาพถ่าย
- งานภาพประกอบ แผนที่ โครงสร้าง
- งานศิลปะประยุกต์ คือ งานที่นำเอาศิลปะสาขาต่างๆ ข้างต้น อย่างหนึ่งอย่างใด หรือหลายอย่างรวมกันไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น
- ดนตรีกรรม คือ งานเพลงต่างๆ ไม่ว่าจะมีทั้งทำนองและคำร้อง หรือมีแต่ทำนอง หรือคำร้องเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง และหมายความรวมถึงโน๊ตเพลงหรือแผนภูมิเพลงที่ ได้แยกและเรียบเรียงเสียงประสานแล้ว
- โสตทัศนวัสดุ คือ งานอันประกอบด้วยลำดับของภาพซึ่งบันทึกลงในวัสดุซึ่งสามารถนำมาเล่นซ้ำได้ และรวมถึงเสียงที่ใช้ประกอบงานนั้นด้วย
- ภาพยนตร์ หมายถึง ลำดับของภาพซึ่งสามารถนำออกฉายให้เห็นเป็นภาพ เคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ รวมถึงเสียงประกอบของภาพยนตร์ด้วย
- สิ่งบันทึกเสียง หมายถึง งานอันประกอบด้วยลำดับของเสียงซึ่งบันทึกลงบนวัสดุ ใดๆ เช่น เทป แผ่นเสียง หรือคอมแพคดิสก์ ซึ่งสามารถนำมาเล่นซ้ำได้อีก
- งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หมายถึง งานที่เผยแพร่สู่สาธารณชนโดยกระจายเสียง ทางสถานีวิทยุ และการกระจายภาพและเสียงทางสถานีโทรทัศน์ หรือโดยวิธีการ อยางอื่นที่คลายคลึงกัน
- งานอื่นใดแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
- ความคิด ขั้นตอน กรรมวิธี ระบบ วิธีใช้หรือวิธีทำงาน แนวความคิด หลักการ การค้นพบ ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์
- ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่างๆที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร
- รัฐธรรมนูญและกฎหมาย
- ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือท้องถิ่น
- คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานทางราชการ
- คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่างๆ ตามข้อ 2-5 ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานใดของรัฐหรือของท้องถิ่นที่จัดทำขึ้น
- ผลงานหรือภาพถ่ายอันมีลิขสิทธิ์ จำนวน 1 ชุด
- หนังสือรับรองความเป็นเจ้าของผลงานลิขสิทธิ์
- กรณีผู้ยื่นคำขอเป็นบุคคลธรรมดา ใช้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- กรณีเป็นนิติบุคคล ใช้สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล (ที่ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน)
- กรณีตั้งตัวแทนหรือมอบอำนาจให้ผู้อื่นมายื่นคำขอ ใช้หนังสือแต่งตั้งตัวแทนหรือหนังสือมอบอำนาจ ติดอากรแสตมป์ 30 บาท พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ และของตัวแทนผู้รับมอบอำนาจ
- หน่วยงานหรือองค์กรฯ ของรัฐบาล ใช้สำเนาหนังสือแต่งตั้งผู้บริหารหน่วยงานหรือองค์กรฯ พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้บริหารฯ
- เอกสารอื่นๆ ที่แสดงถึงการได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ เช่น สัญญาโอน
โดยทั่วไปการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีอยู่ตลอดอายุผู้สร้างสรรค์ และอีก 50 ปี หลังจาก ผู้สร้างสรรค์เสียชีวิต ดังนั้น จึงไม่ใช่เพียงแต่ผู้สร้างสรรค์เท่านั้นที่จะไดรับประโยชน์จากงาน อันมีลิขสิทธิ์ แต่ทายาทของผู้สร้างสรรค์ก็สามารถจะได้รับประโยชน์ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ กรณีมีผู้สร้างสรรค์หลายคน (ผู้สร้างสรรค์รวม) ระยะเวลาที่กฎหมายให้ความคุ้มครอง แก่งานอันมีลิขสิทธิ์นั้นยังคำนวณจากอายุของผู้สร้างสรรค์รวมคนสุดท้าย กล่าวคือ อีก 50 ปี หลังจากผู้สร้างสรรค์รวมคนสุดท้ายเสียชีวิต
อย่างไรก็ตาม หากเป็นกรณีงานสร้างสรรค์ประเภทอื่นก็จะมีระยะเวลาการคุ้มครอง ตามกฎหมายแตกต่างกันไป ดังนี้
- กรณีเป็นงานภาพถ่าย โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียง แพร่ภาพ มีระยะเวลาการคุ้มครอง 50 ปี นับตั้งแต่สร้างสรรค์ หรือ 50 ปี นับตั้งแต่มีการ โฆษณาครั้งแรก
- กรณีงานศิลปะประยุกต์ มีระยะเวลาการคุ้มครอง 25 ปี นับตั้งแต่วันสร้างสรรค์ หรือ 25 ปี นับตั้งแต่มีการโฆษณาครั้งแรก
- กรณีผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล มีระยะเวลาการคุ้มครอง 50 ปี นับตั้งแต่สร้างสรรค์ หรือ 50 ปี นับตั้งแต่มีการโฆษณาครั้งแรก
- กรณีสิทธินักแสดง มีระยะเวลาการคุ้มครอง 50 ปี นับตั้งแต่มีการแสดง หรือหาก มีการบันทึกการแสดงไว้ ใหม่อายุ 50 ปี นับตั้งแต่มีการบันทึก
การละเมิดลิขสิทธิ์
ในการประกอบธุรกิจ อาจจะมีบางกรณีที่ต้องนำงานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นมาใช้เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมหรือประชาสัมพันธ์สินค้าหรือบริการของตน หรือแม้กระทั่งการประชาสัมพันธ์องค์กรให้เป็นที่รู้จักในหมู่ผู้บริโภค ซึ่งในการกระทำดังกล่าวอาจเขาขายละเมิดลิขสิทธิ์ได้ ทั้งนี้ การละเมิดลิขสิทธิ์แบ่งออกเป็น 2 แนวทาง ได้แก่
การละเมิดลิขสิทธิ์โดยตรง หมายถึง การกระทำใดๆ แกงานอันมีลิขสิทธิ์ ในลักษณะที่เป็นการใช้สิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์โดยมิได้รับอนุญาต ดังจะได้แยกพิจารณา ตามประเภทของงานออกเป็น 4 ประเภท คือ
- การละเมิดลิขสิทธิ์ในงานทั่วไป หมายถึง การทำซ้ำ ดัดแปลง หรือ เผยแพร่ต่อสาธารณะชน โดยไม่ได้รับอนุญาต
- การละเมิดลิขสิทธิ์ในงานโสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ หรือสิ่งบันทึกเสียง หมายถึง การทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน หรือให้เช่าต้นฉบับ หรือสำเนางานดังกล่าว เฉพาะเสียง หรือภาพ หรือทั้งเสียงและภาพ โดยไม่ได้รับอนุญาต
- การละเมิดลิขสิทธิ์ในงานแพร่เสียงแพร่ภาพ (รายการวิทยุหรือรายการ โทรทัศน์) โดยการทำซ้ำ ดัดแปลง หรือการแพร่เสียงแพร่ภาพผ่านวิธีการต่างๆ เช่น เคเบิลทีวี ดาวเทียม หรืออินเทอร์เน็ต ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน โดยมีผลประโยชน์ในทางการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาต
- การละเมิดลิขสิทธิ์ในงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยการทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณะชน ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานดังกล่าว โดยไม่ได้รับอนุญาต
ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์
กฎหมายได้กำหนดกรณีที่ถือว่าเป็นข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์เอาไว้ ดังนี้
การกระทำภายใต้วัตถุประสงค์ของกฎหมาย ถือเป็นข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ หากเข้าข่ายหลัก 2 ประการ คือ
- ไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์
- ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์ เกินสมควร
การทำซ้ำแก่งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าการกระทำนั้นมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไร ไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์ของเจ้าของ ลิขสิทธิ์ และไม่กระทบกระเทือนสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร ในกรณีการศึกษาวิจัย การใช้เพื่อประโยชน์สวนบุคคล การติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงาน การเสนอรายงานข่าว ทางสื่อสารมวลชน โดยแสดงการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ การทำซ้ำในจำนวนที่สมควร โดยบุคคลผู้ซึ่งได้ซื้อหรือได้รับโปรแกรมนั้นมาจากบุคคลอื่นโดยถูกต้องเพื่อใช้ประโยชน์ในการ บำรุงรักษาหรือป้องกันการสูญหาย การทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดงหรือทำให้ปรากฏเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว และรวมถึงการนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบ ในการสอบการดัดแปลงในกรณีที่จำเป็นแก่การใช้ และการทำซ้ำเพื่อเก็บรักษาไว้สำหรับ การอ้างอิงหรือค้นคว้าเพื่อประโยชน์ของสาธารณชน
การนำงานนาฏกรรม และงานดนตรีกรรมออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน ถ้าได้กระทำตามความเหมาะสมโดยมิได้แสวงหากำไร และนักแสดงไม่ได้รับค่าตอบแทน ในการแสดงนั้น แต่จะต้องเป็นการดำเนินการโดยสมาคม มูลนิธิ หรือองค์การอื่นที่มี วัตถุประสงค์เพื่อการสาธารณกุศล การศึกษา การศาสนาหรือการสังคมสงเคราะห์ ทั้งนี้ ต้องไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์ของเจ้าของลิขสิทธิ์ และไม่กระทบกระเทือนสิทธิ ของเจ้าของลิขสิทธิ์
ข้อยกเวนการละเมิดลิขสิทธิ์ต่องานศิลปกรรม มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หากได้กระทำการดังต่อไปนี้ การวาดเขียน การระบายสี การแกะลายเส้น การปน การแกะสลัก การถ่ายภาพ หรือการถ่ายภาพยนตร์ ซึ่งศิลปกรรมใดอันตั้งเปิดเผยประจำอยู่ในที่สาธารณะ รวมถึงการถ่ายภาพ การถ่ายภาพยนตร์ หรือการแพร่ภาพงานใดๆ อันมีศิลปกรรมใด รวมอยู่เป็นส่วนประกอบด้วย
อนึ่ง ในกรณีที่ลิขสิทธิ์ในศิลปกรรมใดมีบุคคลอื่นนอกจากผู้สร้างสรรค์เป็นเจ้าของร่วมอยู่ด้วย การที่ผู้สร้างสรรค์คนเดียวกันได้ทำศิลปกรรมนั้นอีกในภายหลัง ในลักษณะที่เป็นการทำซ้ำบางส่วนกับศิลปกรรมเดิม หรือใช้แบบพิมพ์ ภาพร่าง แผนผัง แบบจำลอง หรือข้อมูลที่ได้จากการศึกษาที่ใช้ในการทำศิลปกรรมเดิม ถ้าปรากฏว่าผู้สร้างสรรค์มิได้ทำซ้ำหรือลอกแบบในสวนอันเป็นสาระสำคัญของศิลปกรรมเดิมมิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ต่องานสถาปัตยกรรม มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หากได้ดำเนินการดังต่อไปนี้ การวาดเขียน การระบายสี การแกะลายเส้น การปน การแกะสลัก การถ่ายภาพ การถ่ายภาพยนตร์ หรือการเผยแพร่ ซึ่งงานสถาปัตยกรรม แต่มิได้หมายรวมถึงการจำหน่ายแบบแปลนที่ได้ทำซ้ำหรือการนำแบบแปลนไปก่อสร้าง โดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ นอกจากนี้การบูรณะอาคารอันมีซึ่งสถาปัตยกรรม อันมีลิขสิทธิ์ในรูปเดิมมิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
การนำภาพยนตร์ที่หมดอายุการคุ้มครองออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน ไม่ถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ สิ่งบันทึกเสียง หรืองานที่ใช้จัดทำภาพยนตร์
การทำซ้ำเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการ ซึ่งเป็นการกระทำโดยเจ้าพนักงาน ซึ่งมีอำนาจตามกฎหมายหรือตามคำสั่งของเจ้าพนักงานดังกล่าว ซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ ตามกฎหมาย และที่อยู่ในความครอบครองของทางราชการ แต่จะต้องไม่เป็นการขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร