“จิตรลดาแดนสรวง.. เราทั้งปวงร่วมมิตรไมตรี.. มาเถิดมาวันนี้... สำราญเต็มที่เปรมปรีดิ์ฤทัย...”
ใครที่เป็นศิษย์จิตรลดาในรุ่นแรกๆ คงจะจำได้ดีถึงเพลงจิตรลดาเพลงแรกนี้ และ จากนั้น ภาพอันงดงามแห่งความทรงจำรำลึกในความสุขของการได้เป็น “ครอบครัว จิตรลดา” โรงเรียนเล็กๆ ที่ยิ่งใหญ่ด้วยพระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์ บรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชและ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง อบอุ่นด้วย ความรักจาก “ครู” ก็จะรินไหลเข้ามาสู่ความทรงจำที่ให้ความรู้สึกฉ่ำเย็นดุจสายน้ำ…
ประวัติความเป็นมาของสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการศึกษาในระดับชั้นอนุบาลขึ้น ณ พระที่นั่งอุดรในพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงพระอักษรในระดับชั้นอนุบาล
ดร. ท่านผู้หญิง ทัศนีย์ บุณยคุปต์ เริ่มเข้าทำงานเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนจิตรลดา เมื่อ พ.ศ. 2498 โดยเป็นพระอาจารย์ท่านแรกที่ถวายพระอักษร สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เพียงท่านเดียว
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ
พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระอักษรในระดับชั้นอนุบาล
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ย้ายพระราชฐานที่ประทับจากพระที่นั่งอัมพรสถานมาประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอาคารเรียนถาวรในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต พระราชทานนามโรงเรียนว่า “โรงเรียนจิตรลดา”
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร
มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี
ทรงพระอักษรในระดับชั้นอนุบาล
โรงเรียนจิตรลดาได้ทำการจดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎของระทรวงศึกษาธิการ
เปิดสอนนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงพระอักษรในระดับชั้นอนุบาล
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ
ทรงพระอักษรในระดับชั้นอนุบาล
โรงเรียนจิตรลดาขยายชั้นเรียนจนถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
โรงเรียนจิตรลดาขยายชั้นเรียนจนถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร
มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี
ทรงดำรงตำแหน่งประธานบริหารโรงเรียนจิตรลดา
พุทธศักราช 2528
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์
ทรงพระอักษรในระดับชั้นอนุบาล
พุทธศักราช 2530
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ
ทรงพระอักษรในระดับชั้นอนุบาล
พุทธศักราช 2534
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา
ทรงพระอักษรในระดับชั้นอนุบาล
พุทธศักราช 2538
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี
ทรงพระอักษรในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
พุทธศักราช 2551
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร
ทรงพระอักษรในระดับชั้นอนุบาล
ก่อตั้งโรงเรียนจิตรลดา (สายวิชาชีพ)
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขยายโอกาสการสอนจากสายสามัญเพิ่มเป็นสายวิชาชีพ และพระราชทานนามว่า “โรงเรียนจิตรลดา (สายวิชาชีพ)” เปิดการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช).
พุทธศักราช 2550
โรงเรียนจิตรลดา (สายวิชาชีพ) เปิดการศึกษาในะดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
วิทยาลัยเทคโนโลยีจิตรลดา
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขยายการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาขึ้น และพระราชทานนามว่า ” วิทยาลัยเทคโนโลยีจิตรลดา ” โดยเป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 โดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิสยามบรมราชกุมารีเพื่อโรงเรียนจิตรลดา และทรงดำรงตำแหน่งนายกสภาวิทยาลัย เปิดสอนคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาอิเล็กทรอนิกส์และสาขาไฟฟ้ากำลัง และคณะบริหารธุรกิจ สาขาการตลาด สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ และสาขาธุรกิจอาหาร โดยมีท่านผู้หญิงอังกาบ บุณยัษฐิติ ดำรงตำแหน่งอธิการบดีท่านแรก
ท่านผู้หญิงอังกาบ บุณยัษฐิติ
รศ.ดร. คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ
1 สิงหาคม 2560 รศ.ดร. คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ ดำรงตำแหน่งอธิการบดีสถาบัน
– จัดหลักสูตรการเรียนการสอนภายใต้นโยบาย “เรียนคู่งาน งานคู่เรียน” ตอบสนองต่อการผลิตบัณฑิตที่มีสมรรถนะการทำงาน
– ในปีการศึกษา 2560 คณะบริหารธุรกิจได้ปรับหลักสูตรจากเดิมเป็น ” สาขาการจัดการธุรกิจอาหาร” และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมได้ปรับหลักสูตรจากเดิมเป็น “สาขาเทคโนโลยีไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์”
สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา
สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดาควบรวมกับโรงเรียนจิตรลดา (สายวิชาชีพ)
ภายใต้สถาบันเทคโนโลยีจิตรดา โดยเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ
11 พฤศจิกายน 2561
วิทยาลัยเทคโนโลยีจิตรลดา เปลี่ยนสถานะเป็น “สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา” ตาม พ.ร.บ. สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา พ.ศ. 2561 และถือเอาวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี
สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี คือวันที่ 2 เมษายน เป็นวันสถาบัน
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2561
– สถาบันเริ่มเปิดหลักสูตรใหม่ “แบบงานคู่เรียน” ได้แก่หลักสูตร เทคโนโลยีอุตสาหกรรม (ต่อเนื่อง) เพื่อให้คนที่ทำงานแล้วสามารถกลับมาเรียนได้
– มีหลักสูตรระยะสั้นให้แก่ผู้ทำงานแล้วมาเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์
– และเปิดห้องปฏิบัติการธุรกิจอาหาร “ร้านปรุงสารพัด” ให้นักศึกษาเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง
“เรียนคู่งาน งานคู่เรียน” เรียนคู่งาน หมายถึง นักศึกษาเรียน และฝึกทำงานด้วย งานคู่เรียน หมายถึง ผู้ที่ทำงานกลับมาศึกษา/เรียนรู้ ตลอดชีวิต
โรงเรียนจิตรลดาวิชาชีพ เปิดหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
สาขาวิชาการสร้างเครื่องดนตรีไทย และสาขาวิชาเทคโนโลยีระบบสมองกลฝังตัว
สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา
โรงเรียนจิตรลดาวิชาชีพ เปิดหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
สาขาวิชาเกษตรนวัต (ทวิศึกษาร่วมกับโรงเรียนวังจันทร์วิทยา)
คณะเทคโนโลยีดิจิทัล ได้ประกาศจัดตั้งในราชกิจจานุเบกษา
โดยเปิดหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
- โรงเรียนจิตรลดาวิชาชีพ เปิดหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาเทคนิคควบคุมและซ่อมบำรุงระบบขนส่งทางราง (ทวิวุฒิ)
- สถาบันปรับปรุงหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นสาขาวิศวกรรมเทคโนโลยีไฟฟ้า แบ่งเป็น แขนงวิชา คือ ระบบอาคารอัจฉริยะ ระบบยานยนต์ไฟฟ้า และระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรม
- คณะเทคโนโลยีดิจิทัล หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
เปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2563
สถาบันปรับปรุงหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจอาหาร และสาขาวิชาการเป็นผู้ประกอบการให้สอดคล้องกับการจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม
- สถาบันเปิดหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบดิจิทัลและเทคโนโลยี ของคณะเทคโนโลยีดิจิทัล
- โรงเรียนจิตรลดาวิชาชีพ เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาเทคโนโลยีเกษตรนวัต
สถาบันเปิดหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการเป็นผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรม และหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม แขนงพลังงานทดแทนและยานยนต์ไฟฟ้า (ต่อเนื่อง) ซึ่งเป็นหลักสูตรที่เข้าร่วมโครงการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา (sandbox)