สำนักวิชาเกษตรนวัต

School of Innovative Agriculture

    รู้จักสำนัก

    สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดากับสำนักวิชาเกษตรนวัต

    สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดาเป็นสถาบันที่จัดการศึกษาตามแนวพระราชดำริ “เรียนคู่งาน งานคู่เรียน” เน้นจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะและปลูกฝังความเป็นจิตรลดาให้แก่ผู้เรียน การผลิตบัณฑิตด้านเทคโนโลยีการเกษตรมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการเกษตร และสร้างนวัตกรรมใหม่เพื่อสานต่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และเพิ่มโอกาสในการจ้างงานเปรียบเสมือนการสร้างธุรกิจเกษตรสายพันธุ์ใหม่สำหรับอนาคตด้านการเกษตรของประเทศไทย

    รองศาสตราจารย์ ดร. คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ อธิการบดี

     

    สำนักวิชาเกษตรนวัตมุ่งมั่นผลิตนวัตกรเกษตร (smart farmer)

    1. มีสมรรถนะด้านการเกษตร
    2. มีสมรรถนะด้านเทคโนโลยีและเครื่องจักรกล
    3. มีทักษะเทคโนโลยีดิจิทัล
    4. มีทักษะในการสื่อสารและบริหารจัดการ

     

    วิสัยทัศน์

    จัดการศึกษาที่สร้างเกษตรกรยุคใหม่ ตามแนวพระราชดำริ “เรียนคู่งาน งานคู่เรียน” เป็นต้นแบบของเกษตรกรที่รอบรู้เพื่อการสร้างสังคมที่ยั่งยืน ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

     

    พันธกิจ

    1. จัดการศึกษาในระดับปริญญาตรี และต่ำกว่าระดับปริญญา
    2. พัฒนาและถ่ายทอดนวัตกรรมเทคโนโลยีเกษตรนวัตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
    3. จัดทำวิจัย บริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคม และทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

     

    การเรียนเกษตรนวัต มี 3 หลักสูตร

    1. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) (ทวิศึกษา)

    หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2567 ประเภทวิชาเกษตรกรรม  สาขาวิชาเกษตรนวัต (Innovative Agriculture)

    -จัดการศึกษาระบบทวิศึกษา ร่วมกับโรงเรียนวังจันทร์วิทยา

    2. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) (ระบบทวิภาคี)

    หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2565 ประเภทวิชาเกษตรกรรม สาขาวิชาเทคโนโลยีเกษตรนวัต (Innovative Agricultural Technology)

    -จัดการศึกษาระบบทวิภาคี เรียนที่สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา 1 ปี ฝึกอาชีพในสถานประกอบการ 1 ปี

     

    3. ระดับปริญาตรี สำนักวิชาเกษตรนวัต

    สาขาวิชาเทคโนโลยีเกษตรนวัต

    การเรียนเกษตรนวัต

    • วุฒิการศึกษา: วิทยาศาสตร์บัณฑิต (เทคโนโลยีเกษตรนวัต)
    • ชื่อย่อ: วท.บ (เทคโนโลยีเกษตรนวัต)
    • หลักสูตร: ปริญญาตรี 4
    • เรียนที่สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา 3 ปี และฝึกงานในสถานประกอบการ 1 ปี

     

    จบแล้วทำงานอะไร

    1. เกษตรกรอัจฉริยะ (Smart farmer)
    2. ผู้จัดการฟาร์มอัจฉริยะ (Smart farm manager)
    3. ที่ปรึกษาฟาร์มเกษตรอัจฉริยะ (Smart farm advisor)
    4. นักวิชาการ หรือนักวิจัยด้านการเกษตร
    5. พนักงานหรือผู้บริหารในสถานประกอบการทางด้านเกษตร
    6. รับราชการด้านการเกษตร
    7. ผู้ประกอบการธุรกิจฟาร์มเกษตร
    8. ผู้พัฒนาซอร์ฟแวร์ในบริษัทธุรกิจการบริการ

     

    ดาวน์โหลดโครงสร้างหลักสูตร PDF

    บุคลากร

    สุรัตน์ จั่นแย้ม
    คณบดีสำนักวิชาเกษตรนวัต
    สุรัตน์ จั่นแย้ม
    คณบดีสำนักวิชาเกษตรนวัต

    ติดต่อ สำนักวิชาเกษตรนวัต

    ที่อยู่:

    ชั้น 4 อาคาร ๖๐ พรรษา ราชสุดาสมภพ สำนักพระราชวัง สนามเสือป่า ถนนศรีอยุธยา เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 หรือ 905 หมู่ 4 ตำบลป่ายุบใน อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง 21210

    โทรศัพท์:

    0-2280-0551 ต่อ 3219

    โทรสาร:

    0-2280-0552

    อีเมล:

    sia@cdti.ac.th