รู้จักคณะ

คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา ได้มีการพัฒนาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต ให้มีความทันสมัย
เป็นสากลและสอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจยุคใหม่ โดยหลักสูตรแบ่งเป็น 2 สาขา คือ

1.สาขาการจัดการธุรกิจอาหาร

ชื่อปริญญาภาษาไทย : บริหารธุรกิจบัณฑิต (สาขาการจัดการธุรกิจอาหาร)
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ : Bachelor of Business Administration (Food Business Management)

สาขาการจัดการธุรกิจอาหาร เพื่อช่วยผลิตบุคลากร ที่มีทั้งความรู้ความสามารถ และมีจริยธรรมคุณธรรมที่ดี เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรม
ตลอดจนเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของประเทศต่อไปในอนาคต

2.สาขาการเป็นผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรม

ชื่อปริญญาภาษาไทย : บริหารธุรกิจบัณฑิต (สาขาการเป็นผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรม)
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ : Bachelor of Business Administration (Innovative Entrepreneurship)

สาขาการเป็นผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรม พัฒนาหลักสูตรนี้ เพื่อเร่งสร้างบัณฑิตให้มีทักษะการเป็นผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรม สำเร็จการศึกษาในเวลาประมาณ 3 ปี สามารถออกไป ริเริ่มและดำเนินธุรกิจสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ที่ใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อมได้

หลักสูตรที่เปิดสอน

สาขาการจัดการธุรกิจอาหาร

B.B.A. Food Business Management

อุตสาหกรรมอาหาร   เป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ  และถูกกำหนดให้เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญที่จะสร้างความเข้มแข็งให้กับประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต  การเติบโตของอุตสาหกรรมอาหาร ทำให้เกิดความต้องการบุคลากรเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง  ทั้งในระดับปฏิบัติการ  และระดับบริหารจัดการ  โดยในปัจจุบันบุคลากรทางด้านนี้  ยังมีอยู่อย่างจำกัด  และยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ จึงเป็นที่มาของการพัฒนาหลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการธุรกิจ  เพื่อช่วยผลิตบุคลากร  ที่มีทั้งความรู้ความสามารถ  และมีจริยธรรมคุณธรรมที่ดี   เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรม  ตลอดจนเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของประเทศต่อไปในอนาคต

สาขาการเป็นผู้ประกอบการ

B.B.A. Entrepreneurship

ในโลกยุคใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  ได้ทำให้เกิดธุรกิจใหม่  และอาชีพ  ที่หลากหลายมากขึ้น  ทำธุรกิจส่วนตัวคือความใฝ่ฝันของวัยรุ่นยุคใหม่  อีกทั้งหลายองค์กรได้ผลักดันให้พนักงานเป็นเหมือนเจ้าขององค์กร  เพื่อให้การทำงานองค์กรเกิดความยั่งยืน  ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายภาครัฐที่ต้องการการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการในหลายด้าน  การผลักดันให้เกิดผู้ประกอบการยุคใหม่  เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ  เพื่อให้เกิดมีการลงทุนเพิ่มขึ้นและมีการขยายตัวของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม  ดังนั้นหากกำลังต้องการค้นหาโอกาสใหม่ ๆ  อยากพัฒนาธุรกิจ ต้องการเป็นเจ้าของธุรกิจ  หรือต้องการนำทักษะการเป็นผู้ประกอบการไปใช้ในพัฒนาองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน  สาขาการเป็นผู้ประกอบการเป็นหลักสูตรที่สามารถตอบโจทย์เหล่านี้ได้

บุคลากร

รองศาสตราจารย์
ดร. อรรณพ ตันละมัย
คณบดีคณะบริหารธุรกิจ
รองศาสตราจารย์
ดร. อรรณพ ตันละมัย
คณบดีคณะบริหารธุรกิจ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ดร. พรพิพัฒน์ จูฑา
รองคณบดีคณะบริหารธุรกิจ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ลัชชาภรณ์ ธรรมธีรเสถียร
อาจารย์ประจำคณะ
อาจารย์ ณัฐพงศ์ วีระทวีพร
อาจารย์ประจำคณะ
ดร. พิจักษณ์ ปคุณวานิช
อาจารย์ประจำคณะ
ดร. ปัณณปภณ ใจฉกรรจ์
อาจารย์ประจำคณะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ดร. ศักดิพล เจือศรีกุล
อาจารย์ประจำคณะ

ติดต่อ คณะบริหารธุรกิจ

ที่อยู่:

อาคาร ๖๐ พรรษา ราชสุดาสมภพ สำนักพระราชวัง สนามเสือป่า ถนนศรีอยุธยา เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300

โทรศัพท์:

02-280-0551 ต่อ 3263

โทรสาร:

02-280-0552

อีเมล:

ba@cdti.ac.th