ประเภทวิชาอุตสาหกรรมบันเทิง (ปวช.)

รู้จักโรงเรียน

สาขาวิชาการสร้างเครื่องดนตรีไทย Thai Musical Instrument Craftsmanship
สาขางานการสร้างเครื่องดนตรีไทย เรียนรู้และฝึกฝนทักษะด้านการใช้เครื่องมือช่างงานไม้ การถอดแบบ การเขียนแบบภาพร่างเครื่องดนตรี การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปในการเขียนแบบเครื่องดนตรี การเลือกใช้วัสดุในการสร้างชิ้นงาน การสร้างสรรค์และการประยุกต์ใช้เศษวัสดุเหลือใช้ หรือวัสดุทดแทนมาสร้างเครื่องดนตรี การแยกรายการในการกำหนดราคาเครื่องดนตรี การออกแบบบรรจุภัณฑ์ โดยเน้นให้มีคุณธรรมในวิชาชีพ ใส่ใจอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน และสามารถศึกษาต่อในระดับสูงต่อไปได้

การเรียนรู้งานวิชาชีพในสถานประกอบการ
ได้รับประสบการณ์จริงในบริษัทอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดนตรีไทยที่มีชื่อเสียง ฝึกทักษะ ขั้นตอน กระบวนการผลิตเครื่องดนตรีไทย จำนวน ๓๒๐ ชั่วโมง (เรียนรู้ในสถานประกอบการในภาคฤดูร้อน)

แนวทางการประกอบอาชีพ
สามารถทำงานระดับช่างเทคนิคด้านแก้ไขซ่อมแซม และการสร้างเครื่องดนตรีไทย รวมถึงทักษะด้านงานช่างไม้ที่สามารถต่อยอดไปในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือบริหารงานหน่วยงานด้านเทคนิคในองค์กรที่มีมาตรฐาน หรือประกอบกิจการในภาคอุตสาหกรรมของตนเองได้

หลักสูตรที่เปิดสอน

สาขาวิชาการสร้างเครื่องดนตรีไทย

Thai Musical Instrument Craftsmanship

สาขางานการสร้างเครื่องดนตรีไทย Thai Musical Instrument Craftsmanship

สาขาวิชาการสร้างเครื่องดนตรีไทย หรือ Thai Instrument Craftsman Course แผนกวิชาอุตสาหกรรมบันเทิงและดนตรี โรงเรียนจิตรลดาวิชาชีพ สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา สถาบันการศึกษาชั้นนำประเทศ ด้านการอนุรักษ์ดนตรีไทยได้จัดการเรียนการสอน สาขาการสร้างเครื่องดนตรีไทยในระดับปวช. ถือเป็นหลักสูตรที่ครอบคลุมทุกด้านทุกแขนงที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมดนตรีไทย

<span data-metadata=""><span data-buffer="">ข่าวสารกิจกรรม

บุคลากร

ดร. นวลอนงค์ ธรรมเจริญ
ผู้อำนวยการโรงเรียนจิตรลดาวิชาชีพ
ดร. นวลอนงค์ ธรรมเจริญ
ผู้อำนวยการโรงเรียนจิตรลดาวิชาชีพ
สุรัตน์ จั่นแย้ม
คณบดีสำนักวิชาเกษตรนวัต
อาจารย์ จุฬาลักษณ์ คุปตรัตน์
รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ
อาจารย์ ชุติมาวรรณ แก้วจำนงค์
รองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนักเรียน นักศึกษา
อาจารย์ จีระ สังเกตกิจ
ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร

ติดต่อ ประเภทวิชาอุตสาหกรรมบันเทิง (ปวช.)

ที่อยู่:

อาคาร 611/612 สำนักพระราชวัง สนามเสือป่า ถนนศรีอยุธยา เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300

โทรศัพท์:

02-280-0551

โทรสาร:

02-282-1396

อีเมล:

saraban@cdti.ac.th