Search
Close this search box.
Search
Close this search box.

สจด. มุ่งพัฒนาการศึกษาจับมือ 5 วิทยาลัย เดินหน้าพัฒนาหลักสูตรด้านวิชาชีพและเทคโนโลยีระบบขนส่งทางราง

สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา CDTI

          รองศาสตราจารย์คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดาพร้อมด้วย ดร.สมจิตร ศิริเสนา ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการอยุธยา, คุณภูริสร์ ฐานปัญญา ผู้แทนผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานเทคโนโลยี, ดร.วรรณา ตันประภัสร์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี และ ดร.มัฆวาน ศุขวัฒน์ ผู้จัดการวิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการนครนายก ร่วมลงนามความร่วมมือทางวิชาการแบบเสมือนจริง (Virtual Signing) กับ Professor Huang Feng อธิการบดีวิทยาลัยเทคโนโลยีอาชีวศึกษารางรถไฟหลิ่วโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาหลักสูตรวิชาชีพด้านเทคโนโลยีระบบขนส่งทางรางเพื่อผลิตกำลังคนรองรับความต้องการของของประเทศและภูมิภาค ณ ห้องประชุมสภาสถาบัน อาคาร 60 พรรษา ราชสุดาสมภพ (604) สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา
          โดยรองศาสตราจารย์คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ กล่าวว่า การลงนามความร่วมมือของสถาบันเทคโนโลยีไทยทั้ง 5 แห่งกับวิทยาลัยเทคโนโลยีอาชีวศึกษารางรถไฟหลิ่วโจว สาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งเป็นสถาบันที่มีชื่อเสียงในระดับโลกด้านเทคโนโลยีระบบขนส่งทางรางในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมผลิตกำลังคนที่มีคุณภาพสูง สนับสนุนการก่อสร้างระบบขนส่งทางราง ทั้งโครงการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รถไฟฟ้าความเร็วสูงและรถไฟรางคู่ ซึ่งมีการขยายเส้นทางอย่างรวดเร็วและมีความต้องการบุคลากรทางด้านการบำรุงรักษาไฟฟ้าในระบบขนส่งทางรางเป็นจำนวนมาก ตลอดจนตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานในภูมิภาค โดยโครงการนี้ริเริ่มโดยวิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการอยุธยา ซึ่งเริ่มส่งนักศึกษาไปศึกษาที่วิทยาลัยฯ หลิ่วโจวประเทศจีนเป็นรุ่นที่ 1 ต่อมาวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานเทคโนโลยี วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี และวิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการนครนายก จึงเข้าร่วมโครงการโดยร่วมส่งนักศึกษาไปเรียนในรุ่นที่ 2 และ 3 จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2564 สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดาซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐและจัดการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาตรี ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จึงเข้าร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่าง 5 สถาบันเทคโนโลยีของไทย กับวิทยาลัยเทคโนโลยีอาชีวศึกษารางรถไฟหลิ่วโจวในการจัดการเรียนการสอนระบบทวิวุฒิ ระดับ ปวส.ในสาขาเทคโนโลยีระบบขนส่งทางราง ในรุ่นที่ 4,5,6 และ 7 ทั้งนี้นักศึกษาจะเรียนที่สถาบันเทคโนโลยีทั้ง 5 แห่งในประเทศไทยเป็นเวลา 1 ปี จากนั้นไปเรียนที่วิทยาลัยเทคโนโลยีอาชีวศึกษารางรถไฟหลิ่วโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน 1 ปีครึ่ง และกลับมาฝึกงานในสถานประกอบการในประเทศไทยอีกครึ่งปี ซึ่งเมื่อเรียนครบหลักสูตรจะได้รับวุฒิการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงจากทั้งประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน พร้อมทั้งผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือช่างซ่อมรถไฟตามมาตรฐานของประเทศจีน และผ่านการทดสอบความสามารถด้านภาษาจีนระดับ HSK3
          รองศาสตราจารย์คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ กล่าวเพิ่มเติมว่า นักศึกษาที่จบจากหลักสูตรนี้เมื่อเข้าไปปฏิบัติงานก็จะได้รับเงินเดือนค่อนข้างสูง เพราะสามารถทำงานได้จริง ทำงานได้ทันทีและมีความสามารถพิเศษด้านภาษาจีน จึงเป็นที่ต้องการอย่างมากในตลาดแรงงานทั้งของไทยและภูมิภาค

สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา CDTI

 สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา CDTI สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา CDTI สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา CDTI สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา CDTI สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา CDTI สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา CDTI สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา CDTI สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา CDTI สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา CDTI สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา CDTI สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา CDTI สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา CDTI สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา CDTI

Picture of Hello Mountain

Hello Mountain

Mountain Studio Team