Search
Close this search box.
Search
Close this search box.

การประกวดโครงงานนักศึกษา “Technological Wisdom to Create Communities and Industries Innovation”

สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา CDTI

จัดกิจกรรมประกวดโครงงานนักศึกษา “Technological Wisdom to Create Communities and Industries Innovation”

เมื่อวันที่ 20 – 21 กุมภาพันธ์ 2565 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา จัดกิจกรรมประกวดโครงงานนักศึกษา “Technological Wisdom to Create Communities and Industries Innovation” เพื่อส่งเสริมการวิจัย สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม ภูมิปัญญานักเทคโนโลยีสู่การสร้างนวัตกรรมเพื่อชุมชนและอุตสาหกรรม ณ โถงชั้น 1 อาคาร 60 พรรษา ราชสุดาสมภพ (604) โดยมีสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมจากนักศึกษาหลักสูตรเรียนคู่งาน – งานคูเรียน ผลงานหลักสูตรเรียนคู่งาน ได้แก่ การพัฒนาระบบประเมินความผิดปกติสภาพแวดล้อมของกระบวนการหยอดกาวผลิตภัณฑ์ Super Pump Combiner ด้วยอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง ระบบแจ้งเตือนการทำงานเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ด้วยการประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง เครื่องตรวจสอบและจำแนกคุณภาพเสียงแตรรถยนต์ด้วยปัญญาประดิษฐ์ชุดตรวจวัดปริมาณฝุ่นบนพื้นผิวของแผงโซล่าเซลล์โดยแสดงผลผ่านแอปพลิเคชั่น เครื่องทดสอบเซอร์กิตเบรกเกอร์ตามมาตรฐาน IEC60898-1 เครื่องแจ้งเตือนการล้มด้วยการประมวลผลภาพผ่านระบบอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง ชุดการเรียนรู้โซล่าเซลล์ตามแสงอาทิตย์บันทึกข้อมูลและแสดงผลผ่านระบบอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง ชุดค้นหาและระบุตำแหน่งอุปกรณ์และเครื่องมือขนาดเล็กในสายการผลิตปั๊ม HRS กรณีศึกษา บริษัท ลูเมนตั้ม อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) ระบบตรวจสอบความถูกต้องของแผ่นประกอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์อัตโนมัติ เครื่องวัดดัชนีเมฆเพื่อประเมินกำลังการผลิตไฟฟ้า ระบบควบคุมห้องอัตโนมัติใช้พลังงานเน็ตซีโร่ และการพัฒนาอุปกรณ์ที่ใช้แสงเพื่อตรวจจับและคาดคะเนระยะทางของวัตถุสำหรับการเรียนรู้ และผลงานหลักสูตรงานคู่เรียน ได้แก่ ระบบตรวจสอบคุณภาพของแผงควบคุมเครื่องปรับอากาศ อุปกรณ์ตรวจสอบการแสดงผลของปั๊มน้ำดับเพลิง อุปกรณ์ควบคุมตู้โหลดในงานเวทีผ่านแอพพลิเคชั่น ชุดวิเคราะห์การสั่นของเครื่องยนต์ เครื่องควบคุมการฉีดน้ำยากำจัดฟองบ่อบำบัดน้ำเสีย ของโรงเรียนจิตรลดาวิชาชีพ และเครื่องตั้งศูนย์ล้อสำหรับรถไฟฟ้าขนาดเล็กแบบพกพา

สำหรับผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้แก่
1. อุปกรณ์ควบคุมตู้โหลดในงานเวทีผ่านแอพพลิเคชั่น โดยนายวรรษา แจ้งสุข และนายฉัตร สาตพร

รางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่
1. ระบบตรวจสอบคุณภาพของแผงควบคุมเครื่องปรับอากาศ โดยนายเกรียงศักดิ์ ลักษณสุวรรณ นายศตวรรษ ศรีสวัสดิ์ และนายศักดิ์สิทธิ์ สุธาธรรม

รางวัลชมเชย 3 รางวัล ได้แก่
1. เครื่องตรวจสอบและจำแนกคุณภาพเสียงแตรรถยนต์ด้วยปัญญาประดิษฐ์ โดย นายศิวัช บุญปิยทัศน์ และนายวีรภัทร เพ็ญสวัสดิ์
2. เครื่องแจ้งเตือนการล้มด้วยการประมวลผลภาพผ่านระบบอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง โดย นายฉัตรมงคล สิทธิพงษ์ นายชัพวิชญ์ แซ่จันทร์ และ Mr.Chanthun Sok
3. เครื่องควบคุมการฉีดน้ำยากำจัดฟองบ่อบำบัดน้ำเสีย ของโรงเรียนจิตรลดาวิชาชีพ โดยนายสุนทร คงจันทร์ และนายอาทิตย์ แพงเจริญ

รางวัล Popular vote ได้แก่
1. ชุดค้นหาและระบุตำแหน่งอุปกรณ์และเครื่องมือขนาดเล็กในสายการผลิตปั๊ม HRS กรณีศึกษา บริษัท ลูเมนตั้ม อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) โดยนายศุภณัฐ พรรณเสมา และนางสาวมิ่งขวัญ ศรีสมโภชน์

ปภาภรณ์/ข่าว

Picture of Hello Mountain

Hello Mountain

Mountain Studio Team