สาขาวิชาการสร้างเครื่องดนตรีไทย หรือ Thai Instrument Craftsman Course แผนกวิชาอุตสาหกรรมบันเทิงและดนตรี โรงเรียนจิตรลดาวิชาชีพ สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา สถาบันการศึกษาชั้นนำประเทศ ด้านการอนุรักษ์ดนตรีไทยได้จัดการเรียนการสอน สาขาการสร้างเครื่องดนตรีไทยในระดับปวช. ถือเป็นหลักสูตรที่ครอบคลุมทุกด้านทุกแขนงที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมดนตรีไทย
ด้วยพระราชกรณียกิจในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในส่วนที่เกี่ยวกับดนตรีไทยเป็นไปอย่างกว้างขวาง ทรงเล่นเครื่องดนตรีได้หลายชนิด ทรงรอบรู้และทรงปฏิบัติได้เป็นอย่างดี
ในด้านการศึกษาค้นคว้าและวิจัยทางดนตรีไทย ทรงสนับสนุนการวิเคราะห์วิจัยที่มุ่งให้เกิดประโยชน์และการพัฒนาเฉพาะในส่วนนี้ ได้พระราชทาน พระมหากรุณาธิคุณแก่โรงเรียนจิตรลดาวิชาชีพ สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา เป็นเอนกประการ คือ ทรงส่งเสริมสนับสนุนให้ทางโรงเรียนจิตรลดาวิชาชีพ เปิดหลักสูตรสาขาวิชาการสร้างเครื่องดนตรีไทย เพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ตระหนักถึงการอนุรักษ์เครื่องดนตรีไทย และสร้างสรรค์ขึ้นรูปแบบใหม่ ก็สามารถทำได้ด้วยการตัดขึ้นรูป เช่น เครื่องกลึง เครื่องกัด เครื่องเลื่อย เป็นต้น หรือสร้างจากรูปแบบอื่นๆ เช่น การหล่อ การตีขึ้นรูป การใช้แม่พิมพ์ทั้งแบบโลหะและแบบพลาสติก เป็นต้น
นักเรียนสามารถศึกษาเรียนรู้กับอุปกรณ์และเครื่องมือที่ทันสมัย และได้เข้าฝึกทักษะวิชาชีพ จากสถานประกอบการที่มีคุณภาพ และสามารถสร้างโอกาสในการมีอาชีพ กับหน่วยงานที่มีมาตรฐาน ซึ่งเป็นแบบอย่างอันเลิศที่โน้มนำให้คนหมู่มากได้หันกลับมามองดนตรีไทย ด้วยสายตาที่มีความเข้าใจถูกต้องและตระหนักในคุณค่า ทรงสมานสามัคคีดนตรีไทยทุกสำนักเข้าด้วยกันจนกลมเกลียว ทรงเป็นมิ่งขวัญและที่เคารพเทิดทูนสูงสุดของชาวดนตรีไทย เดชะบารมีเป็นเหตุให้วงการดนตรีไทยกลับเฟื่องฟูขึ้นอีกวาระหนึ่งอย่างเห็นได้ชัด จนเป็นที่เชิดหน้าชูตาของประเทศไทยสามารถหยัดยืนอยู่ท่ามกลางอารยประเทศ ด้วยความภูมิใจว่าคีตศิลป์ของเราไม่เป็นที่สองรองใคร
นอกจากนั้นแล้วยังทรงพระดำริเตรียมการที่จะจัดตั้งพิพิธภัณฑ์เครื่องดนตรีไทย เพื่อเป็นแหล่งรวมความรู้เกี่ยวกับดนตรีไทยที่สมบูรณ์แบบในอนาคต
1. เครื่องดนตรี เช่น ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ซอด้วง ซออู้ ซอสามสาย จะเข้ ขลุ่ย ปี่ เครื่องหนังหรือการขับร้อง รวมถึงงานช่างดนตรีไทย หากมีประสบการณ์จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
2. นักเรียนที่ผ่านการสอบข้อเขียนและสัมภาษณ์ จะมีการพิจารณา ความยากลำบาก ขาดแคลนทุนทรัพย์ และต้องเป็นผู้มีความประพฤติดี จะได้รับการพิจารณาให้ทุนการศึกษา (เป็นรายกรณี)
โทร : 0 2280 0551 ต่อ 3067
โทร : 0 2280 0551 ต่อ 3057
หลักสูตรสาขาวิชาการสร้างเครื่องดนตรีไทย จัดเป็นหลักสูตรที่เน้นฝึกทักษะด้านการผลิต ซ่อมบำรุงเครื่องดนตรีไทย เน้นการฝึกปฏิบัติเป็นหลัก ตามแนวทาง “เรียนคู่งาน งานคู่เรียน” โดยในหลักสูตรมีการสอนตั้งแต่การเขียนแบบภาพร่างเครื่องดนตรีด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การเลือกใช้วัสดุในการสร้างชิ้นงาน ศึกษาคุณสมบัติของเสียง ระดับเสียง การปรับเสียง หลักการและแนวคิดเรื่องการสร้างเครื่องดนตรี ฝึกทักษะด้านการใช้เครื่องมือช่างงานไม้ ฯลฯ
วิชาที่มีการสอน หลัก ๆ ได้แก่
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
เมื่อจบการศึกษาสามารถเข้าทำงานในสถานประกอบการ หรือ องค์กรของรัฐ ในหลายด้านเช่น
สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา
อาคาร ๖๐ พรรษา ราชสุดาสมภพ
สำนักพระราชวัง สนามเสือป่า
ถนนศรีอยุธยา เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
Chitralada Technology Institute
Rajasudasambhava 60, Bureau of the Royal
Household Sanam Sueapa, Si Ayutthaya Rd., Dusit, Bangkok 10300
โทรศัพท์ 0-2280-0551 ต่อ 3200
โทรศัพท์ 0-2121-3700 ต่อ 1000
โทรสาร 0-2280-0552
ทุกวัน จันทร์-ศุกร์
8.30 น. – 16.30 น.
(ยกเว้น วันหยุดนักขัตฤกษ์)
saraban@cdti.ac.th
3228530