หลักสูตร / สาขา

สาขาวิชาเทคโนโลยีการสร้างเครื่องดนตรีไทย (ปวส.)

สาขาเทคโนโลยีการสร้าง
เครื่องดนตรีไทย
Thai Musical Instrument Production Technology

สาขาเทคโนโลยีการสร้างเครื่องดนตรีไทย หรือ Thai Musical Instrument Production Technology แผนกวิชาอุตสาหกรรมบันเทิงและดนตรี โรงเรียนจิตรลดาวิชาชีพ สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา สถาบันการศึกษาชั้นนำประเทศ ด้านการอนุรักษ์ดนตรีไทยได้จัดการเรียนการสอน สาขาเทคโนโลยีการสร้างเครื่องดนตรีไทย ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวช.) ถือเป็นหลักสูตร ที่พัฒนามาเพื่อต่อยอดการนำเทคโนโลยีมาผลิตอุตสาหกรรมการสร้างเครื่องดนตรีไทย

จุดเด่นของสาขา

นักศึกษาสามารถศึกษาเรียนรู้เทคโนโลยีอุตสาหกรรมในการผลิตเครื่องดนตรีไทยที่ทันสมัย และได้เข้าฝึกฝนทักษะวิชาชีพ จากสถานประกอบการที่ได้การยอมรับ และสามารถสร้างโอกาสในการมีอาชีพกับหน่วยงานหรือสถานประกอบการที่มีมาตรฐาน

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

  • ระดับ ปวส. รับนักเรียนที่เรียนจบ ระดับ ปวช. ชั้นปีที่ 3 จากสาขาวิชาการสร้างเครื่องดนตรีไทย
  • เกรดเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50
  • ผู้สมัครจะต้องมีความสนใจ เกี่ยวกับงานช่างอุตสาหกรรมหรือทักษะการบรรเลงดนตรีไทย
    1. เครื่องดนตรี เช่น ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ซอด้วง ซออู้ ซอสามสาย จะเข้ ขลุ่ย ปี่ เครื่องหนังหรือการขับร้อง รวมถึงงานช่างดนตรีไทย หากมีประสบการณ์จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
    2. นักศึกษาที่ผ่านการสอบข้อเขียนและสัมภาษณ์ จะมีการพิจารณา ความยากลำบาก ขาดแคลนทุนทรัพย์ และต้องเป็นผู้มีความประพฤติดี จะได้รับการพิจารณาให้ทุนการศึกษา (เป็นรายกรณี)

สาขานี้เรียนอะไร

หลักสูตรที่เน้นการฝึกทักษะด้านการนำเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการผลิตที่ทันสมัย โดยนำเทคโนโลยีการผลิตอุตสาหกรรมมาสร้างองค์รู้ใหม่ในงานอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดนตรีไทย แต่ยังคงรักษาเอกลักษณ์คุณภาพเสียงและลักษณะโครงสร้างเครื่องดนตรีไทยดังเดิม ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงและลดระยะเวลาการผลิตได้ 3 ถึง 4 เท่า ทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงสินค้าประเภทเครื่องดนตรีไทย เน้นการฝึกปฏิบัติเป็นหลัก ตามแนวทาง “เรียนคู่งาน งานคู่เรียน” โดยในหลักสูตรมีการสอน ได้แก่

  • เทคนิคงานขึ้นเครื่องหนังเครื่องดนตรีไทยขั้นสูง
  • เทคนิคงานไม้ขั้นสูง 1 – 2
  • เทคนิคงานประณีตศิลป์ขั้นสูง 1 – 2
  • เทคโนโลยีการสร้างเครื่องดนตรีไทย 1 – 6
  • ธุรกิจบันเทิงและดนตรี
  • เทคนิคงานโลหะขั้นสูง 1 – 2
  • การประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์เครื่องดนตรีไทย
  • โครงงาน 1 – 2
  • กิจกรรมในสถานประกอบการ 2

จบแล้วมีงานทำ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
เมื่อจบการศึกษาสามารถเข้าทำงานในสถานประกอบการ หรือ องค์กรของรัฐ ในหลายด้านเช่น

  • ช่างซ่อมบำรุงและปรับแต่งเสียงเครื่องดนตรีไทย (ตัวอย่างจากระดับ ปวช.)
  • ช่างสร้างเครื่องดนตรีไทย
  • ช่างประดับตกแต่งเครื่องดนตรีไทย
  • นักดนตรีไทย
  • ช่างทำสีเครื่องดนตรีไทย
  • ผู้ประกอบการทางด้านการจำหน่ายเครื่องดนตรีไทย
  • ครูสอนดนตรีไทย
  • นักวิชาการด้านดนตรีไทย
  • นักแสดงดนตรี
  • ธุรกิจส่วนตัวด้านดนตรี เช่น โรงเรียนสอนดนตรีไทย ทำงานในองค์กรของรัฐและเอกชนในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง
  • เจ้าของกิจการโรงงานผลิตเครื่องดนตรี
  • รับราชการ ดุริยางค์ทหารเรือ ทหารบก ทหารอากาศ ตำรวจ หรือกรมศิลปากร
  • ศึกษาต่อในระดับการศึกษาที่สูงขึ้นเกี่ยวกับด้านดนตรีได้ และเป็นนักวิจัยด้านดนตรีเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่รองรับความต้องการของโลกในอนาคต