หลักสูตร / สาขา

สาขาวิชาเทคนิคการผลิต (ปวส.)

สาขางานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
Automotive Parts Production

สามารถปฏิบัติงานระดับช่างเทคนิค ผู้ควบคุมงานผู้ช่วยวิศวกร มีความสามารถทางด้านอ่านแบบเทคนิคการผลิต การวัด และตรวจสอบขนาดชิ้นงานการผลิต ควบคุมอุปกรณ์ขับเคลื่อน (CNC) ในงานอุตสาหกรรมและระบบควบคุมอัตโนมัติ (PLC) ระบบนิวเมติกส์และไฮดรอลิก และสามารถศึกษาต่อในระดับสูงต่อไปได้

ศึกษาหลักการและกระบวนการทำงานในกลุ่มงานพื้นฐานด้านอุตสาหกรรมการผลิต เพื่อให้สามารถสร้างสรรค์ แก้ปัญหาและนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้งาน โดยใช้โปรแกรมควบคุมแบบอัตโนมัติในการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิต เครื่องมือกล แม่พิมพ์โลหะ แม่พิมพ์พลาสติก และชิ้นส่วนยานยนต์ รวมทั้งตรวจซ่อมและบำรุงรักษาอุปกรณ์ เครื่องมือกล แม่พิมพ์โลหะ แม่พิมพ์พลาสติก และชิ้นส่วนยานยนต์ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานด้านช่างเทคนิค การผลิตในสถานประกอบการ และประกอบอาชีพอิสระ รวมทั้งการใช้ความรู้และทักษะเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นได้

จุดเด่นของสาขา

เป็นสาขาที่ได้เรียนรู้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับเทคโนโลยีในอนาคต อุปกรณ์ในสาขาได้รับการสนับสนุนจาก สถานประกอบการทางด้านเทคโนโลยีด้านการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ชั้นนำของประเทศ นักศึกษาจึงได้ศึกษาเรียนรู้กับอุปกรณ์และเครื่องมือที่ทันสมัย และได้เข้าฝึกทักษะวิชาชีพจากสถานประกอบการที่มีคุณภาพ และสามารถสร้างโอกาสในการมีอาชีพกับหน่วยงานที่มีมาตรฐาน และความร่วมมือจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

ระดับ ปวช.

รับนักเรียนที่เรียนจบ ระดับชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 จากสาขาวิชาช่างกลโรงงาน สาขาวิชาช่างยนต์ เกรดเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.75

โครงสร้างหลักสูตร

โครงสร้างหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2563 จะต้องศึกษารายวิชาจากหมวดวิชาต่างๆ รวมไม่น้อยกว่า 83 หน่วยกิต และเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร ดังโครงสร้างต่อไปนี้

1.1 กลุ่มทักษะภาษาและการสื่อสาร (ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต)
1.2 กลุ่มทักษะการคิดและการแก้ปัญหา (ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต)
1.3 กลุ่มทักษะทางสังคมและการดำรงชีวิต (ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต)

2.1 กลุ่มทักษะวิชาชีพพื้นฐาน ( 15 หน่วยกิต)
2.2 กลุ่มทักษะวิชาชีพเฉพาะ ( 21 หน่วยกิต)
2.3 กลุ่มทักษะวิชาชีพเลือก (ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต)
2.4 ฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพ ( 4 หน่วยกิต)
2.5 โครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพ ( 4 หน่วยกิต)

สาขานี้เรียนอะไร

ศึกษาการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องมือกล แม่พิมพ์โลหะ แม่พิมพ์พลาสติก และชิ้นส่วนยานยนต์ หลักความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศเพื่อพัฒนางานอาชีพ อ่านแบบ เขียนแบบ และวิเคราะห์แบบงาน เลือกใช้วัสดุอุตสาหกรรมตามคุณลักษณะงาน การปรับ การแปรรูปและขึ้นรูปงานด้วยเครื่องมือกล เขียนโปรแกรมเอ็นซี ตรวจสอบชิ้นงานด้วยเครื่องมือวัดที่มีความละเอียดสูง ปรับปรุงและทดสอบคุณสมบัติโลหะ ตรวจสอบและวางแผนการซ่อมบำรุงเครื่องมือกล

จบแล้วมีงานทำ

เมื่อจบการศึกษาสามารถเข้าทำงานในสถานประกอบการ หรือองค์กรของรัฐในหลายด้าน เช่น

  • ผู้ประกอบการใช้แม่พิมพ์ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ทำงานเกี่ยวกับการดูแลซ่อมบำรุง ติดตั้งเครื่องมือ เครื่องจักรอัตโนมัติ
  • เจ้าหน้าที่ควบคุมการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม
  • ผู้ให้บริการ (Service provider) อ่านแบบ เขียนแบบ และวิเคราะห์แบบงานชิ้นส่วนยานยนต์
  • พนักงานรัฐและเอกชน
  • Consult ตรวจสอบ ถอดและประกอบชิ้นส่วนแม่พิมพ์
  • นักวิจัย งานด้านวิจัยพัฒนา ผลิตภัณฑ์ด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อรองรับความต้องการของโลกในอนาคต
  • สามารถศึกษาต่อในระดับการศึกษาที่สูงขึ้นไปได้