Search
Close this search box.
Search
Close this search box.
หลักสูตร / สาขา

สาขาวิชาช่างกลโรงงาน (ปวช.)

สาขางานเครื่องมือกล
Machanics

เป็นหลักสูตรเน้นฝึกทักษะด้านการผลิตและซ่อมบำรุงเป็นหลัก ด้วยเครื่องจักรกลที่หลากหลาย เกี่ยวข้องกับเครื่องกลภายในโรงงาน หรือเครื่องยนต์ที่มีขนาดใหญ่ไม่ว่าจะเป็นเครื่องกลึง, เครื่องกัด, เครื่องไส, เครื่องเจียระไน เป็นต้น ทำการผลิตวัสดุทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นโลหะ อโลหะ พลาสติก หรือไม้ ยกตัวอย่างรถยนต์หนึ่งคัน เมื่อนำมาชำแหละเป็นอะไหล่ชิ้นส่วนต่างๆ เพลาข้อเหวี่ยง ลูกสูบ เฟือง สลัก แหวน ฯลฯ จะเห็นได้ว่า ช่างกลโรงงานทำหน้าที่การผลิตแทบทั้งสิ้น การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสาขาช่างกลโรงงาน ให้ความสำคัญการฝึกปฏิบัติควบคู่กับทฤษฎี โดยเน้นการให้ความรู้และทักษะต่างๆ เช่น ความรู้พื้นฐานเรื่องโครงสร้างเครื่องยนต์กลไก ความรู้เรื่องระบบการทำงาน และการดูแลรักษา การซ่อมบำรุง เป็นต้น

จุดเด่นของสาขา

เป็นสาขาที่ได้เรียนรู้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับเทคโนโลยีในอนาคต อุปกรณ์ในสาขาที่ได้รับการสนับสนุนจากสถานประกอบการทางด้านเครื่องจักรทุกชนิด เพราะฉะนั้นการศึกษาวิชาในเรื่องของช่างกลโรงงาน จึงเรียนในเรื่องที่เกี่ยวกับการสร้างชิ้นส่วน เริ่มตั้งแต่การออกแบบวัสดุศาสตร์ กรรมวิธีการผลิต เครื่องจักรกลที่ใช้ในการผลิตมีหลากหลายประเภทขึ้นอยู่กับกระบวนการผลิต ถ้าเป็นการขึ้นรูปก็สามารถทำด้วยการตัดขึ้นรูป เช่น เครื่องกลึง, เครื่องกัด, เครื่องเลื่อย เป็นต้น หรือสร้างจากรูปแบบอื่นๆเช่น การหล่อ, การตีขึ้นรูป, การใช้แม่พิมพ์ทั้งแบบโลหะและแบบพลาสติก เป็นต้น จึงได้ศึกษาเรียนรู้กับอุปกรณ์และเครื่องมือที่ทันสมัย และได้เข้าฝึกทักษะวิชาชีพ จากสถานประกอบการที่มีคุณภาพ และสามารถสร้างโอกาสในการมีอาชีพกับหน่วยงานที่มีมาตรฐาน

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

  • ระดับ ปวช. รับนักเรียนที่เรียนจบ ระดับชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 เกรดเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50

สาขานี้เรียนอะไร

เรียนรู้และฝึกฝนทักษะด้านวิชาชีพ เครื่องมือกล เขียนแบบเครื่องกลด้วยคอมพิวเตอร์ งานเครื่องมือกลซีเอ็นซี (CNC) การอบชุบโลหะ งานหล่อโลหะ การซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล งานวัดละเอียด นิวเมติกส์และไฮดรอลิกเบื้องต้น ให้ความสำคัญในการฝึกปฏิบัติควบคู่ไปพร้อมกับทฤษฎี โดยมุ่งเน้นการให้ความรู้รวมทั้งทักษะต่างๆ เช่น ความรู้พื้นฐานเรื่องเครื่องยนต์กลไก, ความรู้เรื่องระบบการทำงาน, การดูแลรักษา, การซ่อมบำรุง โดยเน้นให้มีคุณธรรมในวิชาชีพ ใส่ใจอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน และสามารถศึกษาต่อในระดับสูงต่อไปได้

จบแล้วมีงานทำ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
เมื่อจบการศึกษาสามารถเข้าทำงานในสถานประกอบการ หรือ องค์กรของรัฐในหลายด้าน เช่น

  • เจ้าหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของเครื่องกลในโรงงาน
  • เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์เครื่องกลต่างๆ
  • ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตกับผู้ประกอบการระดับมาตรฐาน ทำงานเกี่ยวกับ ผู้ช่วยวิศวกรโรงงาน หรือพนักงานตรวจซ่อมเครื่องกลประจำโรงงาน
  • ช่างติดตั้งอุปกรณ์เครื่องกลต่างๆเกี่ยวกับการดูแลซ่อมบำรุง การติดตั้งเครื่องจักรในอาคารและโรงงาน ติดตั้งเครื่องมือเครื่องจักรอัตโนมัติ
  • บริหารงานหน่วยงานด้านช่างเทคนิคในองค์กรของรัฐและเอกชนที่มีมาตรฐาน เช่น พนักงานฝ่ายผลิต หรือเป็นผู้ประกอบกิจการในภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น
  • เจ้าหน้าที่ควบคุมการผลิต
  • งานด้านวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อรองรับความต้องการของโลกในอนาคต
  • สามารถศึกษาต่อในระดับการศึกษาที่สูงขึ้นไปได้