Search
Close this search box.
Search
Close this search box.
หลักสูตร / สาขา

สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ (ปวส.)

สาขางานอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม
สาขางานอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม Industrial Electronics

Industrial Electronics

การใช้ชีวิตในปัจจุบัน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เข้ามามีบทบาทกับการดำเนินชีวิตประจำวัน อุปกรณ์ที่ใช้อำนวยความสะดวกล้วนแต่ใช้เทคโนโลยีที่มีวงจรอิเล็กทรอนิกส์ในการควบคุม และเป็นส่วนประกอบแทบทั้งสิ้น เช่น โทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ วิทยุสื่อสาร คอมพิวเตอร์ ระบบเซนเซอร์เพื่อควบคุมการทำงานแบบอัตโนมัติ จึงถือได้ว่างานอิเล็กทรอนิกส์เป็นงานที่มีความสำคัญ และมีความต้องการอย่างมากในวิชาชีพปัจจุบัน

จุดเด่นของสาขา

เป็นสาขาที่ได้เรียนรู้เทคโนโลยีที่ทันสมัย มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับเทคโนโลยีในอนาคต อุปกรณ์ในสาขาได้รับการสนับสนุนจากสถานประกอบการทางด้านเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำของประเทศ นักศึกษาจึงได้ศึกษาเรียนรู้กับอุปกรณ์และเครื่องมือที่ทันสมัย และได้เข้าฝึกทักษะวิชาชีพจากสถานประกอบการที่มีคุณภาพ และสามารถสร้างโอกาสในทำงานร่วมกับหน่วยงานที่มีมาตรฐาน

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

ระดับ ปวช.
รับนักเรียนที่เรียนจบ ระดับชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 เกรดเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50

ระดับ ปวส.
รับนักเรียนที่เรียนจบ ระดับ ปวช. ชั้นปีที่ 3 จากสาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง เกรดเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.75

โครงสร้างหลักสูตร

โครงสร้างหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2563 ประเภทวิชาอุตสาหกรรม สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องศึกษารายวิชาจากหมวดวิชาต่างๆ รวมไม่น้อยกว่า 86 หน่วยกิต และเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร ดังโครงสร้างต่อไปนี้

1.1 กลุ่มทักษะภาษาและการสื่อสาร (ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต)
1.2 กลุ่มทักษะการคิดและการแก้ปัญหา (ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต)
1.3 กลุ่มทักษะทางสังคมและการดำรงชีวิต (ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต)

2.1 กลุ่มทักษะวิชาชีพพื้นฐาน ( 19 หน่วยกิต)
2.2 กลุ่มทักษะวิชาชีพเฉพาะ ( 21 หน่วยกิต)
2.3 กลุ่มทักษะวิชาชีพเลือก (ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต)
2.4 ฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพ ( 4 หน่วยกิต)
2.5 โครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพ ( 4 หน่วยกิต)

สาขานี้เรียนอะไร

เรียนรู้ความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในการทำงาน วิชาพื้นฐานช่าง การคำนวนวงจรไฟฟ้า การวิเคราะห์วงจรอิเล็กทรอนิกส์ การเขียนแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ การใช้เครื่องมือวัดทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ระบบสื่อสารคลื่นสัญญาน ดิจิตอลเทคนิค ระบบภาพและเสียง ระบบโทรคมนาคม เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ไมโครคอลโทรเลอร์ และการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์

จบแล้วมีงานทำ

เมื่อจบการศึกษาสามารถเข้าทำงานในสถานประกอบการ หรือองค์กรของรัฐในหลายด้าน เช่น

  • งานเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่เกี่ยวของกับระบบโทรศัพท์ ระบบส่งสัญญานดาวเทียม ระบบอินเตอร์เน็ต กับบริษัทด้านการสื่อสารโทรคมนาคมที่มีชื่อเสียง งานด้านการสื่อสารวิทยุการบิน
  • ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตกับผู้ประกอบการระดับมาตรฐาน ทำงานเกี่ยวกับ การดูแลซ่อมบำรุง ติดตั้งเครื่องมือ เครื่องจักรอัตโนมัติ ระบบการควบคุมแบบรีโมตคอนโทรล ระบบเซนเซอร์ และการวัดค่าด้วยเครื่องมือวัดอิเล็กทรอนิกส์
  • งานด้านบันเทิง ทำงานเกี่ยวกับการควบคุมระบบภาพ ระบบเสียง ในสตูดิโอต่างๆ การติดตั้งระบบแสงสีเสียงในงานคอนเสิร์ตและงานพิธีการต่างๆ การควบคุมโดรน โดยเป็นงานที่กำลังต้องการผู้มีความชำนาญเฉพาะทางด้านนี้อย่างมาก
  • งานด้านวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อรองรับความต้องการของโลกในอนาคต
  • สามารถศึกษาต่อในระดับการศึกษาที่สูงขึ้นไปได้