หลักสูตร / สาขา

สาขาวิศวกรรมเทคโนโลยีไฟฟ้า

สาขาวิศวกรรมเทคโนโลยีไฟฟ้า
B.Tech. (Electrical Engineering Technology)

ชื่อเต็ม (ไทย) : เทคโนโลยีบัณฑิต (วิศวกรรมเทคโนโลยีไฟฟ้า)
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Bachelor of Technology (Electrical Engineering Technology)
ชื่อย่อ (ไทย) : ทล.บ. (วิศวกรรมเทคโนโลยีไฟฟ้า)
ชื่อย่อ (อังกฤษ) : B.Tech. (Electrical Engineering Technology)

จุดเด่นของสาขา

  • เน้นการเรียนรู้คู่ปฏิบัติงาน (Work and Study Integrated)
  • เน้นบัณฑิต มีวินัย ใฝ่รู้ สู้งานหนักและสื่อสารเป็น
  • จัดการศึกษาร่วมกันระหว่างสถาบันและสถานประกอบการ
  • ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ ตามความต้องการของสถานประกอบการ สำเร็จการศึกษาแล้วทำงานได้ทันที
  • ส่งเสริมและสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อพัฒนางานร่วมกับสถาประกอบการ
  • ส่งเสริม พัฒนา สร้างสรรค์งานนวัตกรรมเพื่อเข้าประกวดในระดับชาติและนานาชาติ

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ ปวช.

การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา?
สอบสัมภาษณ์ พร้อมทดสอบทักษะความถนัดทางด้านช่าง

ค่าใช้จ่ายในการศึกษา
ภาคการศึกษาละ 31,500 บาท* (เหมาจ่ายต่อภาคการศึกษา)
*ทั้งนี้อาจมีการแปลงได้ในภายหลัง

การฝึกงาน (ระยะเวลาและหน่วยที่คู่สัญญา)
การฝึกงาน  ( รายวิชาปฏิบัติงานวิชาชีพในสถานประกอบการ )  รวมตลอดหลักสูตรเป็นจำนวน ๒ ภาคการศึกษา จำนวน ๑๒ หน่วยกิต โดยได้รับความร่วมมือจากสถานประกอบการชั้นนำของประเทศ ทั้งทางอุตสาหกรรมโรงงานและสถานประกอบการทางด้านอุตสาหกรรม

ทุนการศึกษา
ทุนการศึกษาตามโครงการเรียนดีตลอดการศึกษา 4 ปี และทุนอื่นๆ หลายประเภทด้วยกัน อาทิ

  • ทุนสนับสนุนการเรียน ค่าเทอม และค่าใช้จ่ายรายเดือน
  • ทุนสำหรับนักกีฬา
  • ทุนสำหรับนักศึกษาที่สร้างคุณงามความดี
  • ทุนสำหรับนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์

โครงสร้างหลักสูตร

  • กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ 6 หน่วยกิต
  • กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ 6 หน่วยกิต
  • กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 6 หน่วยกิต
  • กลุ่มวิชาภาษา 15 หน่วยกิต
  • กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ 12 หน่วยกิต
  • กลุ่มวิชาพื้นฐานทางเทคโนโลยี 18 หน่วยกิต
  • กลุ่มวิชาแกนทางวิศวกรรมเทคโนโลยีไฟฟ้า 21 หน่วยกิต
  • กลุ่มวิชาแขนงและกลุ่มวิชาเลือก 25 หน่วยกิต
  • กลุ่มวิชาโครงงานและปฏิบัติงานวิชาชีพ 17 หน่วยกิต

สาขานี้เรียนอะไร

หลักสูตรวิศวกรรมเทคโนโลยีไฟฟ้า

เป้าหมายสำคัญในการผลิตบัณฑิต คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดามีดังนี้

  • ปฏิบัติงานได้ทันทีตามสาขาเฉพาะทาง
  • มีบุคลิกภาพ วินัย ความคิดสร้างสรรค์ สอดคล้อง ตรงตามลักษณะงานสาขา
  • มีคุณลักษณะใฝ่รู้และสู้งานหนัก
  • มีสมรรถนะสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ


แขนงที่เปิด
แขนงวิชาที่ 1 เทคโนโลยีไฟฟ้าสำหรับระบบอาคารอัจฉริยะ 
เพื่อสร้างบัณฑิต ให้เชี่ยวชาญในสายงานควบคุม ตรวจสอบ ติดตั้ง และงานซ่อมบำรุงระบบไฟฟ้าในอาคารที่เกี่ยวกับ ระบบการส่งจ่ายไฟฟ้าในอาคาร ระบบสื่อสารเตือนภัย ระบบปรับอากาศ ระบบการอนุรักษ์พลังงาน

แขนงวิชาที่ 2 เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า เพื่อสร้างบัณฑิต ให้เชี่ยวชาญในการสามารถวิเคราะห์ ออกแบบ และตรวจซ่อม ระบบและชุดควบคุมยานยนต์ไฟฟ้า ระบบอัดประจุสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า เทคโนโลยีแบตเตอรี่และการจัดการพลังงาน

แขนงวิชาที่ 3 เทคโนโลยีระบบควบคุมอัตโนมัติในอุตสาหกรรม เพื่อสร้างบัณฑิต ให้เชี่ยวชาญในการพัฒนาสายการผลิต การพัฒนาระบบ SCADA การบริหารจัดการข้อมูลและควบคุมกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม การประยุกต์ใช้และการพัฒนาหุ่นยนต์อุตสาหกรรม การพัฒนาระบบ Real Time Monitoring การสื่อสารข้อมูลของเครื่องจักรด้วยระบบ IoT


4 ปี ในบ้าน CDTI

โดยใช้แนวทางการศึกษาระบบสหกิจศึกษา (Cooperative Education) มีดังนี้

  • เรียนรู้คู่กับการทำงาน (WIL ; Work Integrated Learning)
  • เรียนที่สถาบัน 3 ปี ปฏิบัติงานอาชีพในสถานประกอบการ 1 ปี
  • มีรายได้ระหว่างปฏิบัติงานอาชีพ
  • เรียนภาษาอังกฤษและภาษาที่สาม (จีน ญี่ปุ่น และเยอรมัน) ตามมาตรฐานสากล
  • มีปรับพื้นฐานทักษะทางช่างวิศวกรรม เพื่อให้ปฏิบัติงานได้ ทำงานเป็น

จบแล้วมีงานทำ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  • ผู้ประกอบการอิสระ
  • หัวหน้างานฝ่ายผลิต
  • วิศวกรสายปฏิบัติการ
  • ผู้ดูแลและบำรุงรักษาระบบอาคารสูง
  • วิทยากรฝึกอบรมด้านวิชาชีพ
  • นักวิจัยหรือนวัตกร ผู้สร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์
  • วิศวกรฝ่ายขาย