หลักสูตร / สาขา

สาขาการออกแบบดิจิทัลและเทคโนโลยี

สาขาการออกแบบดิจิทัลและเทคโนโลยี
Bachelor of Arts in Digital Design and Technology

หลักสูตรที่สอนด้านการออกแบบและนำไปประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยียังมีจำนวนน้อยและเป็นที่ต้องการจึงจำเป็นต้องพัฒนาหลักสูตรที่มีศักยภาพในการผลิตนักออกแบบที่มีความรู้ทางเทคโนโลยีเช่น นักออกแบบนวัตกรรมบริการดิจิทัลนักออกแบบเว็บหรือโมบายแอปพลิเคชันนักวางแผนการตลาดดิจิทัล นักพัฒนาด้านมัลติมีเดีย นักออกแบบประสบการณ์ และส่วนติดต่อผู้ใช้ (UX/UI) ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรดิจิทัล ผู้ร่วมทุนเจ้าของธุรกิจดิจิทัลและผู้ประกอบอาชีพอิสระต่าง ๆ ที่มีสื่อกราฟิกมัลติมีเดียเป็นส่วนเกี่ยวข้องหลักสูตรได้ออกแบบให้มีความยืดหยุ่นในการเรียนการสอนที่รองรับหลักทฤษฎีการออกแบบและเทคโนโลยีในอนาคต

เน้นผลิตนักออกแบบด้านดิจิทัล ที่มีความเข้าใจมนุษย์และเหมาะสมกับผู้ใช้งาน การออกแบบจะใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยี เพื่อประยุกต์ใช้กับการออกแบบนวัตกรรมดิจิทัล หรือที่เรียกว่า “Digital Product Design” ตัวอย่างเช่น การออกแบบApplication, การออกแบบUX/UI (User Experience และ User Interface Design), การออกแบบ Responsive Website สำหรับอุปกรณ์ต่างๆ, Human Center Design, Communication Design, และ Graphic Design

จุดเด่นของสาขา

“พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ บูรณาการทักษะออกแบบและนวัตกรรมเทคโนโลยี” หลักสูตรนี้มีการบูรณาการเชิงประยุกต์ทางศิลปะการออกแบบและวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกัน พัฒนาให้เป็นหลักสูตรที่สามารถผลิตนักวิชาชีพที่มีความคิดสร้างสรรค์ทั้งในเชิงการออกแบบและการบริหารจัดการเทคโนโลยีร่วมสมัย ผนวกองค์ความรู้เชิงเทคนิค มีความเข้าใจและสามารถวิเคราะห์งานออกแบบและเทคโนโลยีได้อย่างดี มีความพร้อมที่จะทำงานในสาขาวิชาชีพและทิศทางในอนาคตของงานออกแบบ อย่างมืออาชีพในระดับสากลและมีความสามารถในการทำงานได้ทุกขั้นตอนของงานออกแบบ พร้อมทั้งปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมและจิตสำนึกต่อส่วนรวม โดยคำนึงถึงผลกระทบของงานออกแบบ ต่อบุคคล องค์กรและสังคม

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่า จากสถาบันการศึกษาซึ่งกระทรวงศึกษาธิการรับรอง หรือ สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) มีคุณสมบัติตามข้อบังคับสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี

โครงสร้างหลักสูตร

1.1 กลุ่มวิชาภาษาไทย ( ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต ) 1.2 กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ ( ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต ) 1.3 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ ( ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต ) 1.4 กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ ( ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต ) 1.5 กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ ( ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต ) 1.6 กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ ( ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต )
  • กลุ่มวิชาแกน 27 หน่วยกิต
  • กลุ่มวิชาเฉพาะ 67 หน่วยกิต
    – กลุ่มวิชาชีพบังคับ 52 หน่วยกิต
    –  กลุ่มวิชาชีพเลือก 15 หน่วยกิต

สาขานี้เรียนอะไร

ปี 1 และ ปี 2 :
นักศึกษาได้เรียนรู้ด้านสายงานออกแบบและฝึกมีทักษะการออกแบบร่วมกับการใช้งานเทคโนโลยี และการเขียนโปรแกรมสำหรับงานออกแบบ เพื่อให้นักศึกษาสามารถแก้ปัญหาทางด้านการออกแบบด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีได้อย่างรวดเร็ว

ปี 3 และ ปี 4 :
นักศึกษาจะค้นพบความถนัดเฉพาะทางตามความสนใจของตนมากขึ้น นักศึกษาทุกคนจะได้ฝึกปฏิบัติโจทย์จริงจากภาคอุตสาหกรรมเพื่อการออกแบบนวัตกรรมดิจิทัลที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ และมีทักษะในการนำเสนอผลงานที่ดี เป็นผู้มีจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพด้านการออกแบบ มีความเป็นผู้ประกอบการและมีความเป็นจิตรลดา

จบแล้วมีงานทำ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  • นักออกแบบนวัตกรรมบริการดิจิทัล (Digital Innovative Service Designer)
  • นักออกแบบเว็บ/โมบายแอปพลิเคชัน (Web/Mobile Application Designer)
  • นักวางแผนการตลาดดิจิทัล (Digital Marketing Planner)
  • นักพัฒนาด้านมัลติมีเดีย (Multimedia Developer)
  • นักออกแบบประสบการณ์/ส่วนติดต่อผู้ใช้ (UX/UI Designer)
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรดิจิทัล (Digital Resources Specialist)
  • ผู้ร่วมทุน/เจ้าของธุรกิจดิจิทัล (Digital Startup)
  • นักวิชาการ/นักวิชาชีพด้านออกแบบในองค์กรหรือสถานประกอบการ (Academician Professional in Design)