Search
Close this search box.
Search
Close this search box.
หลักสูตร / สาขา

สาขาวิชาเทคโนโลยีเกษตรนวัต (ปวส.)

สาขาวิชาเทคโนโลยีเกษตรนวัต
Innovative Agriculture

สาขางานเทคโนโลยีเกษตรนวัต (ระบบทวิภาคี)
ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะทั้งด้านภาษา การสื่อสาร และเทคโนโลยีด้านเกษตรกรรมสมัยใหม่ สามารถประดิษฐ์คิดค้น ประยุกต์นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ใช้ในงานเกษตรให้เหมาะสม มีหลักการบริหารจัดการและการประกอบธุรกิจการเกษตรให้เกิดความคุ้มค่า

จุดเด่นของสาขา

สาขาวิชาเทคโนโลยีเกษตรนวัต เป็นการนำความรู้ที่ได้ศึกษาทั้งด้านพืช ปศุสัตว์ ประมง นวัตกรรมและเทคโนโลยีการบริหารจัดการไปฝึกอาชีพ ในสถานประกอบการจริง โดยมีระยะเวลาประมาณ 2 ภาคเรียน ตามความต้องการและความถนัดของผู้เรียน อีกทั้งเป็นพื้นฐานที่ผู้เรียนจะนำไปประกอบอาชีพในอนาคตต่อไป ซึ่งสถานประกอบการเหล่านั้นจะเป็นสถานประกอบการด้านการเกษตร

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

  • ระดับ ปวส. รับนักเรียนที่เรียนจบ ระดับ ปวช. ชั้นปีที่ 3 จากสาขาวิชาเทคโนโลยีเกษตรนวัต
  • เกรดเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00

โครงสร้างหลักสูตร

ผู้สำเร็จการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาเกษตรนวัต จะต้องสำเร็จการศึกษาในระดับ ปวช. สาขาเกษตรนวัต โดยจะต้องศึกษารายวิชาของหมวดวิชาต่างๆ รวมไม่น้อยกว่า 83 หน่วยกิต ดังโครงสร้างต่อไปนี้

1.1 กลุ่มวิชาภาษาไทย ( ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต )
1.2 กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ ( ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต )
1.3 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ ( ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต )
1.4 กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ ( ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต )
1.5 กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ ( ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต )
1.6 กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ ( ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต )

2.1 กลุ่มสมรรถนะวิชาชีพพื้นฐาน ( 15 หน่วยกิต )
2.2 กลุ่มสมรรถนะวิชาชีพเฉพาะ ( 21 หน่วยกิต )
2.3 กลุ่มสมรรถนะวิชาชีพเลือก ( ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต )
2.4 ฝึกประสบการณ์สมรรถนะวิชาชีพ ( 4 หน่วยกิต )
2.5 โครงงานพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพ ( 4 หน่วยกิต )

สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทวิชาหรือสาขาวิชาอื่น หรือมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่า ที่ไม่มีพื้นฐานวิชาชีพ จะต้องเรียนรายวิชาปรับพื้นฐานวิชาชีพ ต่อไปนี้

 

รหัส

ชื่อวิชา

(ปขน)

4250-0001หลักการเกษตรนวัต2(2-0-0)
4250-0002หลักการเพาะปลูกพืช2(1-3-0)
4250-0003หลักการเลี้ยงสัตว์2(1-3-0)
4250-0004ช่างเกษตรเบื้องต้น2(1-3-0)
4250-0005อุตสาหกรรมเกษตรเบื้องต้น2(2-0-0)
4250-0006ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ2(1-2-0)
4250-0007กฎหมายในงานอาชีพเกษตร1(1-0-0)

การยกเว้นการเรียนรายวิชาปรับพื้นฐานวิชาชีพดังกล่าวข้างต้น สามารถทำได้โดยการเทียบโอนผลการเรียนรู้ ตามข้อบังคับสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) พ.ศ.2563

สาขานี้เรียนอะไร

ศึกษาเกี่ยวกับความสำคัญ หลักการเกษตรนวัต กระบวนการปฏิบัติงานทางการเกษตร เรียนรู้การเลือกใช้เทคโนโลยี เลือกใช้พลังงานทดแทน พลังงานหมุนเวียนและพลังงานทางชีวมวลทางการเกษตร หลักการเพาะปลูกพืช ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับความสำคัญ ประเภท และชนิดของพืช ปัจจัยและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการขยายพันธุ์พืช การวางแผนการปลูก การดูแลรักษา การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว หลักการเลี้ยงสัตว์ศึกษาทฤษฎีและปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการเลี้ยงสัตว์บกและสัตว์น้ำ ปัจจัยพื้นฐานการเลี้ยงสัตว์ การเพาะพันธุ์สัตว์ ประเภทและชนิดพันธุ์สัตว์ โรงเรือนและอุปกรณ์ อาหารสัตว์ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิเคราะห์ วางแผนการดูแล การรักษาโรคและการสุขาภิบาลสัตว์ การจัดการผลผลิต การแปรรูปผลผลิต การประยุกต์ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ช่างเกษตรเบื้องต้น ในกระบวนการทางการเกษตร เรียนรู้อุตสาหกรรมเกษตรเบื้องต้น เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตพืชและการผลิตสัตว์อย่างยั่งยืน ศึกษากฎหมายในงานอาชีพเกษตร โดยคำนึงถึงอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การทำธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ โดยเน้นคุณธรรมในวิชาชีพและสามารถศึกษาต่อในระดับสูงต่อไปได้

จบแล้วมีงานทำ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

ผู้เรียนในสาขาเกษตรนวัต เมื่อเรียนจบแล้วจะมีงานทำทันที เพราะผู้เรียนได้ไปฝึกอาชีพกับสถานประกอบการ เป็นระยะเวลา 2 ภาคเรียน ได้เรียนรู้การใช้เครื่องมือ และเทคโนโลยีของสถานประกอบการแต่ละแห่งเป็นอย่างดีมาแล้ว ดังนั้นสถานประกอบการส่วนใหญ่ มักจะไม่ปล่อยให้ผู้เรียนที่สถานประกอบการได้ฝึกมา ไปทำงานกับสถานประกอบการอื่น

ดังนั้น ผู้เรียนที่เรียน จบ ปวส. สาขาวิชาเทคโนโลยีเกษตรนวัต จะประกอบอาชีพต่างๆ ได้ดังนี้

  • ผู้จัดการฟาร์มสมัยใหม่
  • ผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร
  • นักวิชาการเกษตรทั้งในหน่วยงานราชการ และเอกชน