หลักสูตร / สาขา

สาขาวิชาช่างยนต์ (ปวช.)

สาขางานยานยนต์
Automobile

สาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมบำรุงรถยนต์ รถจักรยานยนต์ เครื่องยนต์ต่างๆที่นิยมใช้และอื่นๆ สาขาช่างยนต์มีการจัดการเรียนการสอนเน้นการฝึกทักษะ ประสบการณ์ และการทดลองสิ่งใหม่ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สาขาช่างยนต์ เช่น ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเครื่องยนต์ต่างๆ การใช้อุปกรณ์ในงานช่าง วัสดุเชื้อเพลิง การถอดประกอบเครื่องยนต์ การคำนวณต่างๆ ที่จำเป็นต่องานช่าง วิชากลศาสตร์ วิชาเทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็นต้น การเรียนสาขา ช่างยนต์เป็นสาขาวิชาที่เน้นการฝึกปฏิบัติกับทฤษฎีควบคู่กัน และมีการปรับเปลี่ยนเทคนิคการสอนและฝึกปฏิบัติตามเทคโนโลยีสมัยใหม่ ให้สอดคล้องกับการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์

จุดเด่นของสาขา

เป็นสาขาที่ได้เรียนรู้เทคโนโลยีที่ทันสมัย มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับเทคโนโลยีในอนาคต อุปกรณ์ในสาขาได้รับการสนับสนุนจากสถานประกอบการทางด้านยานยนต์ ผู้มีความรู้ความชำนาญมีทักษะในเรื่องของเครื่องยนต์กลไกต่างๆ จัดเป็นอีกหนึ่งสาขาวิชาที่ชายหนุ่มหลายคนต้องการจะเข้าไปศึกษาต่อ อันเนื่องมาจากนิสัยโดยพื้นฐานของเด็กผู้ชายส่วนมากมักจะชอบการสร้าง การดัดแปลง โดยเฉพาะในเรื่องของเครื่องยนต์กลไก บวกกับความหลงใหลในเรื่องของรถยนต์ รวมทั้งมีตลาดแรงงานรองรับค่อนข้างสูงจึงทำให้ “ช่างยนต์” เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้นๆ และด้วยทุกวันนี้แต่ละครอบครัวมีรถอย่างต่ำบ้านละ 1 คัน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมีมากกว่า 1 คัน ซึ่งการใช้รถจะมีระยะเวลาบำรุงรักษาทุกๆ รอบ เช่น 3 เดือนครั้ง หรือ 6 เดือนครั้ง หรือตามสภาพรถ โอกาสในความเจริญก้าวหน้าของช่างยนต์จึงมีอัตราการเจริญเติบโตสูงมาก และสามารถประกอบส่วนตัวได้

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

  • ระดับ ปวช. รับนักเรียนที่เรียนจบ ระดับชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 เกรดเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50

สาขานี้เรียนอะไร

เรียนรู้และฝึกฝนทักษะด้านงานยานยนต์ การอ่านแบบ เขียนแบบยานยนต์ การบริการตรวจซ่อมเครื่องยนต์ ซ่อมบำรุงรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ระบบส่งกำลังรถยนต์ เปลี่ยนอุปกรณ์ภายในรถหรือเครื่องยนต์ เครื่องล่างรถยนต์และไฟฟ้ารถยนต์ เชื้อเพลิงและวัสดุหล่อลื่น ระบบปรับอากาศรถยนต์ นิวเมติกส์ไฮดรอลิกเบื้องต้น เคาะพ่นสี แก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวของกับเครื่องยนต์ เป็นต้น โดยเน้นให้มีคุณธรรมในวิชาชีพ ใส่ใจอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน และสามารถศึกษาต่อระดับสูงต่อไปได้

จบแล้วมีงานทำ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
เมื่อจบการศึกษาสามารถเข้าทำงานในสถานประกอบการ หรือองค์กรของรัฐในหลายด้าน เช่น

  • นายช่างประจำศูนย์บริการ
  • ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตกับผู้ประกอบการระดับมาตรฐาน ทำงานเกี่ยวกับ ผู้ช่วยวิศวกรโรงงาน หรือพนักงานตรวจซ่อมเครื่องกลประจำโรงงาน
  • บริหารงานหน่วยงานด้านช่างเทคนิคในองค์กรของรัฐและเอกชนที่มีมาตรฐาน เช่น พนักงานซ่อมบำรุงเครื่องยนต์ หรือเป็นผู้ประกอบกิจการในภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น
  • เจ้าของกิจการซ่อมบำรุงเครื่องยนต์
  • เจ้าของกิจการคาร์แคร์
  • เจ้าของกิจการอู่รถ
  • เจ้าของกิจเต๊นท์รถ
  • เจ้าของกิจการจำหน่ายอะไหล่รถ
  • งานด้านวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อรองรับความต้องการของโลกในอนาคต
  • สามารถศึกษาต่อในระดับการศึกษาที่สูงขึ้นไปได้