Search
Close this search box.
Search
Close this search box.

ศึกษาเรียนรู้นอกสถานที่ ศิลปะเชิงช่างในอดีต

เมื่อวันอังคารที่ 25 มกราคม 2565 สาขาการสร้างเครื่องดนตรีไทย โรงเรียนจิตรลดาวิชาชีพ สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา นำทีมโดย ครูสุเมธา ทรัพย์รังสี อาจารย์ประจำสาขาการสร้างเครื่องดนตรีไทย นำนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 2 และชั้นปีที่ 3 และนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ชั้นปีที่ 1 ไปศึกษาเรียนรู้นอกสถานที่ ณ สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร และวันศุกร์ที่ 21 มกราคม 2565 ศึกษาเรียนรู้นอกสถานที่ ณ วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหารและวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม โดยได้รับเกียรติเป็นอย่างสูงจาก นายสมชาย ศุภลักษณ์อำไพพร นายช่างศิลปกรรมอาวุโส (อาจารย์พิเศษสาขาการสร้างเครื่องดนตรีไทย) เป็นวิทยากรในรายวิชาประณีตศิลป์เครื่องดนตรีไทยได้รับความรู้ด้านศิลปะประยุกต์ งานประณีตศิลป์ สถาปัตยกรรมและเป็นประสบการณ์อันเป็นประโยชน์มาก โดยสรุปสิ่งสำคัญที่นักเรียน นักศึกษา ได้รับความรู้ ดังนี้

– ส่วนประกอบของสถาปัตยกรรมไทย (พระวิหาร ระเบียงคด วิหารคด หน้าบัน ซุ้มประตู หน้าต่าง ขั้นบันได การย่อมุม ฯลฯ)
– เครื่องตกแต่งรอบพระวิหารภูเขามอถะ (เจดีย์จีน) ตัวลั่นถัน (หุ่นรูปคน จีน ฝรั่ง)
– ภาพจิตรกรรมในพระวิหาร,พระอุโบสถ วัดสุทัศน์ (ภาพพุทธประวัติ พุทธกิริยา ชาดก วรรณคดี)
– ภาพทวารบาล บานหน้าต่าง (เทวดานพเคราะห์ เทวดาประจำทิศ)
– เรื่องการละเล่นในภาพจิตรกรรม (ตีคลี เล่นระทา จุดดอกไม้ไฟโบราณ ต้นไฟพเยียมาศ)
– ประเภทของเทคนิคที่ใช้ในการสร้าง (ลายรดน้ำ ลงรักปิดทอง ปิดทองลงยา ปิดทองร่องกระจก ฉลุทองและแกะสลัก)
– ส่วนประกอบฐานชุกชี พระประธานประจำวิหารวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร
– ความรู้เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย เรื่อง (ทวีปทั้ง 4 และ ช้าง 10 ตระกูล)
– องค์ประกอบส่วนประกอบต่าง ๆ ของงานจิตรกรรมและสถาปัตยกรรมไทย สมัย ร.3
– ประเภทของฉัตรและความรู้ทั่วไปอื่น ๆ ฯลฯ
สามารถสร้างแรงบันดาลใจ สร้างเสริมประสบการณ์การ การเรียนการสอนในสาขาอาชีพของตนได้เป็นอย่างดีต่อไป

ชาติภักดิ์ / ข่าว

 

Picture of Hello Mountain

Hello Mountain

Mountain Studio Team