ชมผลงานอื่นๆ ได้ที่ >> นิทรรศการออนไลน์ "CDTI Virtual Exhibition 2020" คลิก <<
นิทรรศการสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม โดยครู อาจารย์ นักเรียนและนักศึกษา สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา
วัตถุประสงค์ / เป้าหมาย
ผงยางสนเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยในการสร้างความฝืดให้กับคันชักซอทุกชนิดในโลก ในส่วนหางม้าบริเวณที่จะใช้ถูกับสายซอ (ทำจากวัสดุชนิดต่าง ๆ เช่น ไหมฟั่นละเอียดชุบน้ำยาให้แข็งตัว, เถาวัลย์บางประเภท, สายโลหะ เหล็ก เงิน ทองเหลือง, สายพลาสติก-เอ็น) แต่ด้วยคุณสมบัติพื้นฐานของหางม้า (ที่ได้จากหางม้า) พื้นผิวมีความขรุขระการที่นำคันชักถูกับสายซอก็สามารถสร้างแรงสั่นสะเทือนได้ส่วนหนึ่ง การทำยางสนซอถือเป็นภูมิปัญญาและองค์ความรู้ที่สำคัญยิ่ง เนื่องจากเป็นศิลปวิทยาการที่ไม่ได้มีการเผยแพร่ทางด้านวิชาการและมีจำนวนผู้ทำและเผยแพร่น้อย เพื่อเป็นการสืบทอดศิลปะวิทยาการอันเป็นสมบัติของชาติให้คงอยู่เสริมสร้างแรงบันดาลใจในวิชาชีพ พัฒนาทักษะทางด้านงานช่างดนตรีไทย สร้างอาชีพและรายได้ให้แก่ตนเองและครอบครัว อีกทั้งยังเป็นการสั่งสมองค์ความรู้เพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อยอดเป็นนวัตกรรม จึงจำเป็นที่จะต้องจัดโครงการดังกล่าว
เนื้อหาโดยสรุป / วิธีการ / ข้อค้นพบ / ผลการศึกษา
การทำยางสนครั้งนี้ถ่ายทอดโดยอาจารย์วาคภัฎ ศรีวรพจน์ ดุริยางคศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร การทำยางสนซอนั้น ต้องใช้ความรู้ความชำนาญและความพิถีพิถันในหลายๆด้าน ตั้งแต่กรรมวิธีของการคัดเลือกประเภทพันธุ์สน การเก็บรักษาในอุณหภูมิที่เหมาะสม ผ่านกระบวนการต้ม กรองเศษผงต่าง ๆ เพื่อให้ได้น้ำยางสนที่สะอาดบริสุทธิ์ ยางสนทำโดยการใช้ไม้สนสามใบมาทำการสกัดยางสนออกจากเนื้อไม้ ยางสนที่ได้จะมีลักษณะข้นเหนียว หากต้มด้วยระยะเวลาที่พอเหมาะ ไม่นานเกินไปจะได้ยางสนที่มีความสวยงาม ใส หลังจากนั้นนำมากรอกใส่พิมพ์ไม้แล้วใช้เครื่องเป่าลมร้อนเป่าไล่ฟองอากาศ
การนำผลงานมาใช้ / รางวัล / การตีพิมพ์
เป็นวัสดุที่ใช้ในการสร้างความฝืนให้แก่หางม้าสำหรับการบรรเลงเครื่องสีไทย
หน่วยงาน
โรงเรียนจิตรลดาวิชาชีพ สาขาการสร้างเครื่องดนตรีไทย
ผู้รับผิดชอบ
อาจารย์
อ.สวรรยา ทับแสง
อ.สุเมธา ทรัพย์รังสี