“ใต้ร่มพระบารมี.. จากวันนั้นถึงวันนี้... ๖๐ ปี จิตรลดา“
ปรัชญา
รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
มีวินัย ใฝ่คุณธรรม นำความรู้ สู้งานหนัก
วิสัยทัศน์
สถาบันที่จัดการศึกษาตามแนวพระราชดำริ “เรียนคู่งาน งานคู่เรียน” สร้างคนดี มีฝีมือ มีวินัยและจรรยาบรรณวิชาชีพ
พันธกิจ
สอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพและปริญญาตรีแบบ “เรียนคู่งาน งานคู่เรียน”
วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านวิชาชีพ
บริการวิชาการและวิชาชีพแก่ชุมชนและสังคม
อนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทย และเข้าใจวัฒนธรรมที่หลากหลาย
อำนาจหน้าที่และภารกิจตามพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา พ.ศ. 2561
สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา เป็นสถานศึกษาด้านวิชาชีพและเทคโนโลยี มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง มุ่งเน้นให้การศึกษาด้านทักษะวิชาชีพและเทคโนโลยีบนฐานของวิทยาศาสตร์และวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความชำนาญในการปฏิบัติ ทำการสอน วิจัย ริเริ่ม ถ่ายทอด ฝึกอบรม พัฒนาบุคลากร พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยให้ผู้เข้ารับการศึกษามีโอกาสศึกษาด้านวิชาชีพเฉพาะทางจนถึงระดับอุดมศึกษา ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ปลูกฝังให้นักเรียนและนักศึกษาเป็นพลเมืองดี มีจิตอาสา และมีวินัย
(อ้างอิงตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา พ.ศ. 2561)
ตราประจำสถาบัน
สัญลักษณ์ สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา
“พระมหามงกุฎประจำรัชกาลที่ ๙” ตราสัญลักษณ์โรงเรียนจิตรลดา
นอกจากชื่อของโรงเรียนแล้ว การจดทะเบียนเป็นโรงเรียนจิตรลดาในครั้งนั้น ก็จะต้องมีตรา สัญลักษณ์ของโรงเรียน ซึ่ง “ครูทัศนีย์” ท่านเล่าว่า “ ตราของโรงเรียนที่ใช้ เป็นตรามงกุฎที่มีเลข ๙ นั้น หมายถึงพระมหามงกุฎของรัชกาลที่ ๙ เป็นสัญลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่อยู่ติดตัว นักเรียน ส่วนสัญลักษณ์ตัวอักษร โรงเรียนจิตรลดา ที่อยู่ใต้มงกุฎนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ครูประพาส ปานพิพัฒน์ ครูสอนศิลปะของโรงเรียนในขณะนั้นเป็นผู้ออกแบบถวาย และพระองค์ท่านทรงเลือกตัวอักษรที่มีส่วนโค้งขึ้น รับสั่งว่าหมายความถึง โรงเรียนจิตรลดาจะไปสู่ ความเจริญรุ่งเรืองต่อไป เพราะฉะนั้นเมื่อเราเข้ามาในโรงเรียนนี้ เราจะต้องพยายามรักษาคุณงามความดีของโรงเรียนให้เจริญก้าวหน้าต่อไปในทุกด้าน”
สัญลักษณ์ สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา
สี เหลือง – ฟ้า หมายถึง สีวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร คือวันจันทร์ และสีวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง คือวันศุกร์ ทั้งสองพระองค์ คือ ผู้ทรงก่อตั้งโรงเรียนจิตรลดา
สีประจำสถาบัน
สีประจำคณะสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา / โรงเรียนจิตรลดาวิชาชีพ
ต้นไม้ประจำสถาบัน
ต้นราชพฤกษ์ หรือ ต้นคูน เป็นต้นไม้พื้นเมืองของเอเชียใต้ ตั้งแต่ปากีสถาน อินเดีย พม่า และศรีลังกา โดยนิยมปลูกกันมากในเขตร้อน สามารถเจริญเติบโตได้ดีในที่โล่งแจ้ง และเป็นที่รู้จักในประเทศไทยมาหลายสิบปี โดยมีการเสนอให้ดอกราชพฤกษ์ เป็นดอกไม้ประจำชาติไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 แต่ก็ยังไม่ได้ข้อสรุปแน่ชัด จนกระทั่งมีการลงนามให้เป็นดอกไม้ประจำชาติไทย เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2544
เนื่องจาก ต้นราชพฤกษ์ ออกดอกสีเหลืองชูช่อ ดูสง่างาม อีกทั้งยังมีสีตรงกับ สีประจำวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จึงถูกตั้งชื่อว่าเป็น “ต้นไม้ของรัชกาลที่ 9” และมีการลงนามให้ต้นราชพฤกษ์ เป็นหนึ่งใน 3 สัญลักษณ์ประจำชาติไทย โดยมี
- ช้าง เป็นสัตว์ประจำชาติไทย
- ศาลาไทย เป็นสถาปัตยกรรมประจำชาติไทย
- ดอกราชพฤกษ์ เป็นดอกไม้ประจำชาติไทย
เหตุผลที่เลือกเป็นดอกไม้ประจำชาติไทย - เนื่องจากเป็นต้นไม้พื้นเมืองที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย และมีอยู่ทุกภาคของประเทศไทย
- มีประวัติเกี่ยวข้องกับประเพณีสำคัญ ๆ ในไทยและเป็นต้นไม้มงคลที่นิยมปลูก
- ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น ใช้เป็นยารักษาโรค อีกทั้งยังใช้ลำต้นเป็นเสาเรือนได้ เป็นต้น
- มีสีเหลืองอร่าม พุ่มงามเต็มต้น เปรียบเป็นสัญลักษณ์แห่งพุทธศาสนา
- มีอายุยืนนาน และทนทาน